เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 92. อุเปกขาสหคตทุกะ 5. สังสัฏฐวาร

เหตุปัจจัย มี 6 วาระ
อารัมมณปัจจัย มี 6 วาระ

(ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ 6 วาระ)

อวิคตปัจจัย มี 6 วาระ

อนุโลม จบ
สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขาเกิดระคนกับสภาวธรรมที่สหรคตด้วย
อุเบกขาเพราะนเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 2 เกิดระคนกับขันธ์ 1 ที่ไม่มีเหตุซึ่ง
สหรคตด้วยอุเบกขา ... เกิดระคนกับขันธ์ 2 ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะที่เป็นอเหตุกะ
ฯลฯ โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะเกิดระคนกับขันธ์ที่
สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ (โดยนัยนี้ พึงทําวาระทั้ง 5
เหมือนในสวิตักกทุกะ)

นเหตุปัจจัย มี 6 วาระ
นอธิปติปัจจัย มี 6 วาระ
นปุเรชาตปัจจัย มี 6 วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย มี 6 วาระ
นอาเสวนปัจจัย มี 6 วาระ
นกัมมปัจจัย มี 4 วาระ
นวิปากปัจจัย มี 6 วาระ
นฌานปัจจัย มี 6 วาระ
นมัคคปัจจัย มี 6 วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย มี 6 วาระ

ปัจจนียะ จบ
(การนับ 2 อย่างนอกนี้และสัมปยุตตวาร พึงทําอย่างนี้)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :528 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 92. อุเปกขาสหคตทุกะ 7. ปัญหาวาร
92. อุเปกขาสหคตทุกะ 7. ปัญหาวาร
1. ปัจจยานุโลม 1. วิภังควาร
เหตุปัจจัยเป็นต้น
[186] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคต
ด้วยอุเบกขาโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต-
ขันธ์โดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (ทั้ง 4 วาระ เหมือนกับสวิตักกทุกะ)
สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขา
โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย (อารัมมณปัจจัยและอธิปติปัจจัย
พึงขยายให้พิสดารเหมือนกับสัปปีติกทุกะ ต่างกันเฉพาะคำว่าอุเบกขา)

อนันตรปัจจัยเป็นต้น
[187] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคต
ด้วยอุเบกขาโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่สหรคตด้วยอุเบกขาซึ่งเกิดก่อน ๆ
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยอุเบกขาซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่สหรคตด้วย
อุเบกขาโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่สหรคตด้วยอุเบกขาซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็น
ปัจจัยแก่อุเบกขาซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย จุติจิตที่สหรคตด้วยอุเบกขา
เป็นปัจจัยแก่อุปปัตติจิตที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขา อาวัชชนจิตเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่
สหรคตด้วยอุเบกขา มโนธาตุที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบาก
ซึ่งไม่สหรคตด้วยอุเบกขา ภวังคจิตที่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่ภวังคจิตที่ไม่
สหรคตด้วยอุเบกขา กุศลและอกุศลที่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่
ไม่สหรคตด้วยอุเบกขา กิริยาเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ ผลเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ
เนวสัญญานาสัญญายตนะของท่านผู้ออกจากนิโรธ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติที่ไม่
สหรคตด้วยอุเบกขาโดยอนันตรปัจจัย (2)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :529 }