เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 91. สุขสหคตทุกะ 1. ปฎิจจวาร
สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุขและไม่สหรคตด้วยสุขอาศัยสภาวธรรมที่สหรคต
ด้วยสุขเกิดขึ้นเพราะนเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 2 สุขและจิตตสมุฏฐานรูปอาศัย
ขันธ์ 1 ที่ไม่มีเหตุซึ่งสหรคตด้วยสุขเกิดขึ้น ... อาศัยขันธ์ 2 ฯลฯ (3)
สภาวธรรมที่ไม่สหรคตด้วยสุข อาศัยสภาวธรรมที่ไม่สหรคตด้วยสุขเกิดขึ้นเพราะ
นเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ 1 ที่ไม่มีเหตุซึ่งไม่
สหรคตด้วยสุขเกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ 2 ฯลฯ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยสุขที่ไม่
มีเหตุเกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะที่เป็นอเหตุกะ ขันธ์ 3 และกฏัตตารูปอาศัยขันธ์ 1
ที่ไม่สหรคตด้วยสุขเกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ 2 ฯลฯ หทัยวัตถุอาศัยขันธ์เกิดขึ้น
ขันธ์อาศัยหทัยวัตถุเกิดขึ้น ... อาศัยมหาภูตรูป 1 ฯลฯ (พึงเพิ่มข้อความจนถึง
อสัญญสัตตพรหม) โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะอาศัย
ขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะเกิดขึ้น (ไม่มีข้อแตกต่างกัน
เหมือนกับนเหตุปัจจัย ในสัปปีติกทุกะ ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ 9 วาระ)

นเหตุปัจจัย มี 9 วาระ
นอารัมมณปัจจัย มี 3 วาระ ฯลฯ
นอุปนิสสยปัจจัย มี 3 วาระ
นปุเรชาตปัจจัย มี 9 วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย มี 9 วาระ
นอาเสวนปัจจัย มี 9 วาระ
นกัมมปัจจัย มี 4 วาระ
นวิปากปัจจัย มี 9 วาระ
นอาหารปัจจัย มี 1 วาระ
นอินทรียปัจจัย มี 1 วาระ
นฌานปัจจัย มี 6 วาระ
นมัคคปัจจัย มี 9 วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย มี 3 วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :514 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 91. สุขสหคตทุกะ 7. ปัญหาวาร

นวิปปยุตตปัจจัย มี 6 วาระ
โนนัตถิปัจจัย มี 3 วาระ
โนวิคตปัจจัย มี 3 วาระ

ปัจจนียะ จบ
(โดยนัยนี้ การนับ 2 อย่างนอกนี้ และสหชาตวารเหมือนกับปฏิจจวาร
ในปัจจยวารพึงขยายปวัตติกาล และปฏิสนธิกาลให้พิสดาร แม้ในปัจจนียะแห่ง
ปัจจยวารในสัปปีติกทุกะ ก็พึงขยายหทัยวัตถุในปวัตติกาลให้พิสดาร และใน
สัปปีติกทุกะ มีเฉพาะโมหะอย่างเดียวเท่านั้น พึงทําการนับ 2 อย่างนอกนี้
นิสสยวาร สังสัฏฐวาร และสัมปยุตตวารก็ฉันนั้น พึงทำให้เหมือนกับสัปปีติกทุกะ)

91. สุขสหคตทุกะ 7. ปัญหาวาร
1. ปัจจยานุโลม 1. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[170] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วย
สุขโดยเหตุปัจจัย มี 4 วาระ (ในอารัมมณปัจจัยและอธิปติปัจจัย เหมือนกับ
สัปปีติกทุกะ คำว่าสุขเป็นข้อแตกต่างกัน)

อนันตรปัจจัยเป็นต้น
[171] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วย
สุขโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่สหรคตด้วยสุขซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่
ขันธ์ที่สหรคตด้วยสุขซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) ขันธ์
ที่สหรคตด้วยสุขซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่สหรคตด้วยสุขซึ่งเกิดหลัง ๆ
โดยอนันตรปัจจัย จุติจิตที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่อุปปัตติจิตที่ไม่สหรคตด้วยสุข
ภวังคจิตที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่อาวัชชนจิต กายวิญญาณที่สหรคตด้วยสุข

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :515 }