เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 90. สุขสหคตทุกะ 1. ปฎิจจวาร
สภาวธรรมที่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปีติและไม่มีปีติโดยอารัมมณปัจจัย
สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และกัมมปัจจัย (3)
[165] สภาวธรรมที่ไม่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีปีติโดยอารัมมณ-
ปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย กัมมปัจจัย
อาหารปัจจัย และอินทรียปัจจัย
สภาวธรรมที่ไม่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปีติโดยอารัมมณปัจจัย
สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และปุเรชาตปัจจัย
สภาวธรรมที่ไม่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปีติและไม่มีปีติโดยอารัมมณ-
ปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และปุเรชาตปัจจัย (3)
[166] สภาวธรรมที่มีปีติและไม่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปีติโดย
อารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย
สภาวธรรมที่มีปีติและไม่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีปีติโดยอารัมมณ-
ปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และปัจฉาชาตปัจจัย
สภาวธรรมที่มีปีติและไม่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปีติและไม่มีปีติโดย
อารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และปุเรชาตปัจจัย
(แม้การนับปัจจนียวิภังค์ ก็เหมือนกับสวิตักกทุกะ แม้ถ้ายังไม่สมกัน ก็พึง
พิจารณาเอาอนุโลมนี้นับเข้าไว้ด้วย พึงทำการนับ 2 อย่างนอกนี้ด้วย)
สัปปีติกทุกะ จบ

90. ปีติสหคตทุกะ 1. ปฏิจจวาร
[167] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติอาศัยสภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติเกิดขึ้น
เพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 อาศัยขันธ์ 1 ที่สหรคตด้วยปีติเกิดขึ้น ฯลฯ
อาศัยขันธ์ 2 ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :512 }