เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 89. สัปปีติกทุกะ 7. ปัญหาวาร
ที่เป็นกิริยา ภวังคจิตที่มีปีติและปีติเป็นปัจจัยแก่ภวังคจิตที่ไม่มีปีติ กุศลและอกุศล
ที่มีปีติและปีติเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่ไม่มีปีติ กิริยาเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ
ผลเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะโดยอนันตรปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่มีปีติและไม่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปีติและไม่มีปีติโดย
อนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีปีติและปีติที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีปีติและ
ปีติที่เกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย (3)

... เป็นปัจจัยโดยสมนันตรปัจจัย มี 9 วาระ
... เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย มี 9 วาระ
... เป็นปัจจัยโดยอัญญมัญญปัจจัย มี 9 วาระ
... เป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย มี 9 วาระ

อุปนิสสยปัจจัย
[159] สภาวธรรมที่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปีติโดยอุปนิสสยปัจจัย
มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ ขันธ์ที่มีปีติเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีปีติโดยอุปนิสสย-
ปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) ขันธ์ที่มีปีติเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่มีปีติและปีติโดย
อุปนิสสยปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) ขันธ์ที่มีปีติเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีปีติและปีติ
โดยอุปนิสสยปัจจัย (3)
[160] สภาวธรรมที่ไม่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีปีติโดยอุปนิสสย-
ปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่ไม่มีปีติ ให้ทาน สมาทานศีล
รักษาอุโบสถด้วยจิตที่ไม่มีปีติ ทําฌานที่ไม่มีปีติ ฯลฯ วิปัสสนา ฯลฯ มรรค ฯลฯ
อภิญญา ฯลฯ สมาบัติให้เกิดขึ้น มีมานะ ถือทิฏฐิ อาศัยศีลที่ไม่มีปีติ ฯลฯ ปัญญา
ฯลฯ อภิญญา ... ราคะ ... โทสะ ... โมหะ ... มานะ ... ทิฏฐิ ... ความปรารถนา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :507 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 89. สัปปีติกทุกะ 7. ปัญหาวาร
... สุขทางกาย ... ทุกข์ทางกาย ... อุตุ ... โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะ และปีติแล้ว
ให้ทานด้วยจิตที่ไม่มีปีติ ฯลฯ ทําสมาบัติให้เกิดขึ้น ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทําลายสงฆ์
ศรัทธาที่ไม่มีปีติ ฯลฯ เสนาสนะและปีติเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่ไม่มีปีติ ฯลฯ
ความปรารถนา ... สุขทางกาย ... ทุกข์ทางกาย ... มรรค ... ผลสมาบัติและ
ปีติโดยอุปนิสสยปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปีติโดยอุปนิสสยปัจจัย
(อุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง) ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่ไม่มีปีติแล้ว ให้ทาน
ด้วยจิตที่มีปีติ ฯลฯ ออกจากฌานที่ไม่มีปีติ ฯลฯ มีมานะ ถือทิฏฐิ อาศัยศีลที่
ไม่มีปีติ ฯลฯ เสนาสนะ และปีติแล้ว ให้ทาน ด้วยจิตที่มีปีติ ฯลฯ ทําสมาบัติ
ให้เกิดขึ้น ลักทรัพย์ด้วยจิตที่มีปีติ ฯลฯ พูดเท็จ ฯลฯ พูดส่อเสียด ฯลฯ พูดเพ้อเจ้อ
ฯลฯ งัดแงะ ฯลฯ ปล้นไม่ให้เหลือ ฯลฯ ปล้นเรือนหลังเดียว ฯลฯ ดักจี้
ในทางเปลี่ยว ฯลฯ ล่วงเกินภรรยาผู้อื่น ฯลฯ ฆ่าชาวบ้าน ฯลฯ ฆ่าชาวนิคม
ศรัทธาที่ไม่มีปีติ ฯลฯ เสนาสนะและปีติเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่มีปีติ ฯลฯ ปัญญา
... ราคะ ... โทสะ ... โมหะ ... มานะ ... ทิฏฐิ ... ความปรารถนา ... มรรค
และผลสมาบัติ โดยอุปนิสสยปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปีติและไม่มีปีติโดยอุปนิสสย-
ปัจจัย (อุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง) ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่ไม่มีปีติแล้ว
ให้ทานด้วยจิตที่มีปีติ ฯลฯ ทําสมาบัติให้เกิดขึ้น มีมานะ ถือทิฏฐิ อาศัยศีลที่ไม่มี
ปีติ ฯลฯ เสนาสนะ และปีติแล้ว ให้ทาน ด้วยจิตที่มีปีติ ฯลฯ ทําสมาบัติให้เกิดขึ้น
ลักทรัพย์ด้วยจิตที่มีปีติ ฯลฯ (เหมือนกับทุติยวาร) ฆ่าชาวนิคม ศรัทธาที่ไม่มีปีติ
ฯลฯ เสนาสนะและปีติเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่มีปีติ ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ
โมหะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ ทิฏฐิ ฯลฯ ความปรารถนา ฯลฯ มรรค ...
ผลสมาบัติและปีติโดยอุปนิสสยปัจจัย (3)
สภาวธรรมที่มีปีติและไม่มีปีติ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปีติโดยอุปนิสสยปัจจัย
(อุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง) ได้แก่ ศรัทธาที่มีปีติและปีติเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่
มีปีติโดยอุปนิสสยปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) ขันธ์ที่มีปีติและปีติเป็นปัจจัยแก่
ขันธ์ที่มีปีติและปีติโดยอุปนิสสยปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) ขันธ์ที่มีปีติและปีติ
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีปีติและปีติโดยอุปนิสสยปัจจัย (3)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :508 }