เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 89. สัปปีติกทุกะ 5. สังสัฏฐวาร

โนนัตถิปัจจัย มี 3 วาระ
โนวิคตปัจจัย มี 3 วาระ

ปัจจนียะ จบ
(การนับ 2 อย่างนอกนี้และนิสสยวาร พึงทําอย่างนี้)

89. สัปปีติกทุกะ 5. สังสัฏฐวาร
1. ปัจจยานุโลมเป็นต้น
[148] สภาวธรรมที่มีปีติเกิดระคนกับสภาวธรรมที่มีปีติเพราะเหตุปัจจัย ฯลฯ

เหตุปัจจัย มี 6 วาระ
อารัมมณปัจจัย มี 6 วาระ

(ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ 6 วาระ)

อวิคตปัจจัย มี 6 วาระ

อนุโลม จบ

นเหตุปัจจัย มี 6 วาระ
นอธิปติปัจจัย มี 6 วาระ
นปุเรชาตปัจจัย มี 6 วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย มี 6 วาระ
นอาเสวนปัจจัย มี 6 วาระ
นกัมมปัจจัย มี 4 วาระ
นวิปากปัจจัย มี 6 วาระ
นฌานปัจจัย มี 1 วาระ
นมัคคปัจจัย มี 6 วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย มี 6 วาระ

ปัจจนียะ จบ
(การนับ 2 อย่างนอกนี้และสัมปยุตตวาร พึงทําอย่างนี้)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :500 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 89. สัปปีติกทุกะ 7. ปัญหาวาร
89. สัปปีติกทุกะ 7. ปัญหาวาร
1. ปัจจยานุโลม 1. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[149] สภาวธรรมที่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปีติโดยเหตุปัจจัย ได้แก่
เหตุที่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
สภาวธรรมที่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีปีติโดยเหตุปัจจัย ได้แก่
เหตุที่มีปีติเป็นปัจจัยแก่ปีติและจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
(พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) เหตุที่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ ปีติ และจิตตสมุฏฐาน-
รูปโดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (3)
สภาวธรรมที่ไม่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีปีติโดยเหตุปัจจัย ได้แก่
เหตุที่ไม่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย ใน
ปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (1)

อารัมมณปัจจัย
[150] สภาวธรรมที่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปีติโดยอารัมมณปัจจัย
ได้แก่ เพราะปรารภขันธ์ที่มีปีติ ขันธ์ที่มีปีติจึงเกิดขึ้น (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล)
เพราะปรารภขันธ์ที่มีปีติ ขันธ์ที่ไม่มีปีติและปีติจึงเกิดขึ้น (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล)
เพราะปรารภขันธ์ที่มีปีติ ขันธ์ที่มีปีติและปีติจึงเกิดขึ้น (3)
[151] สภาวธรรมที่ไม่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีปีติโดยอารัมมณ-
ปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถด้วยจิตที่ไม่มีปีติ
พิจารณาด้วยจิตที่ไม่มีปีติ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลิน
กุศลนั้น ราคะที่ไม่มีปีติจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น วิจิกิจฉาจึงเกิดขึ้น อุทธัจจะจึง
เกิดขึ้น โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลออกจากฌานที่ไม่มีปีติ ฯลฯ พระอริยะออกจาก
มรรค ฯลฯ ออกจากผลแล้ว พิจารณาผลด้วยจิตที่ไม่มีปีติ พระอริยะพิจารณา
นิพพาน ด้วยจิตที่ไม่มีปีติ นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน มรรค ผล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :501 }