เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 87. สวิตักกทุกะ 7. ปัญหาวาร
พิจารณาผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณานิพพานให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน มรรคที่มีวิตก และผลโดยอธิปติ-
ปัจจัย บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ขันธ์ที่ไม่มีวิตกและวิตกให้
เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทําความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นเพราะทําขันธ์ที่ไม่มีวิตกและ
วิตกให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ขันธ์ที่มีวิตกจึงเกิดขึ้น (2)
สภาวธรรมที่ไม่มีวิตก เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกและไม่มีวิตกโดย
อธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระอริยะออกจากฌานที่
ไม่มีวิตก ฯลฯ ออกจากมรรค ฯลฯ ออกจากผลแล้วพิจารณาผลให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น พิจารณานิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น นิพพานเป็นปัจจัย
แก่โคตรภู โวทาน มรรคที่มีวิตก ผลและวิตกโดยอธิปติปัจจัย บุคคลทําจักษุ ฯลฯ
หทัยวัตถุ ขันธ์ที่ไม่มีวิตกและวิตกให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ยินดีเพลิดเพลิน
เพราะทําความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะ
จึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น เพราะทําขันธ์ที่ไม่มีวิตกและวิตกให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น ขันธ์ที่มีวิตกและวิตกจึงเกิดขึ้น (3)
สภาวธรรมที่มีวิตกและไม่มีวิตก เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกโดยอธิปติปัจจัย
มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ เพราะทําขันธ์ที่มีวิตกและวิตกให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น ขันธ์ที่มีวิตกจึงเกิดขึ้น (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) เพราะทํา
ขันธ์ที่มีวิตกและวิตกให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น วิตกจึงเกิดขึ้น (พึงเพิ่มบทที่
เป็นมูล) เพราะทําขันธ์ที่มีวิตกและวิตกให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ขันธ์ที่มีวิตก
และวิตกจึงเกิดขึ้น (3)

อนันตรปัจจัยเป็นต้น
[122] สภาวธรรมที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกโดยอนันตรปัจจัย
ได้แก่ ขันธ์ที่มีวิตกซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีวิตกซึ่งเกิดหลัง ๆ โดย
อนันตรปัจจัย (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :483 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 87. สวิตักกทุกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่
ขันธ์ที่มีวิตกซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่มีวิตกซึ่งเกิดหลัง ๆ โดย
อนันตรปัจจัย จุติจิตที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่อุปปัตติจิตที่ไม่มีวิตกโดยอนันตรปัจจัย
อาวัชชนจิตเป็นปัจจัยแก่วิญญาณ 5 โดยอนันตรปัจจัย ขันธ์ที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่
วุฏฐานะที่ไม่มีวิตกโดยอนันตรปัจจัย บริกรรมทุติยฌานเป็นปัจจัยแก่ทุติยฌานโดย
อนันตรปัจจัย บริกรรมตติยฌาน ฯลฯ บริกรรมเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็น
ปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ ฯลฯ บริกรรมทิพพจักขุ ฯลฯ บริกรรม
ทิพพโสตธาตุ ฯลฯ บริกรรมอิทธิวิธญาณ ฯลฯ เจโตปริยญาณ ฯลฯ ปุพเพ-
นิวาสานุสสติญาณ ฯลฯ บริกรรมยถากัมมูปคญาณเป็นปัจจัยแก่ยถากัมมูปคญาณ
ฯลฯ บริกรรมอนาคตังสญาณเป็นปัจจัยแก่อนาคตังสญาณโดยอนันตรปัจจัย
โคตรภูเป็นปัจจัยแก่มรรคที่ไม่มีวิตก โวทานเป็นปัจจัยแก่มรรคที่ไม่มีวิตก อนุโลม
เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติที่ไม่มีวิตกโดยอนันตรปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกและไม่มีวิตกโดยอนันตร-
ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีวิตกซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีวิตกและวิตกซึ่งเกิด
หลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย (3)
[123] สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกโดยอนันตร-
ปัจจัย ได้แก่ วิตกที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่วิตกที่เกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย
ขันธ์ที่ไม่มีวิตกซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่มีวิตกซึ่งเกิดหลัง ๆ โดย
อนันตรปัจจัย มรรคที่ไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่ผลที่ไม่มีวิตก ฯลฯ ผลที่ไม่มีวิตก
เป็นปัจจัยแก่ผลที่ไม่มีวิตก ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตนะของท่านผู้ออกจาก
นิโรธเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติที่ไม่มีวิตกโดยอนันตรปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกโดยอนันตรปัจจัย
ได้แก่ (ขันธ์ที่ไม่มีวิตก)ซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีวิตกซึ่งเกิดหลัง ๆ
โดยอนันตรปัจจัย จุติจิตที่ไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่อุปปัตติจิตที่มีวิตก ภวังคจิตที่ไม่มี
วิตกเป็นปัจจัยแก่อาวัชชนจิต ขันธ์ที่ไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่มีวิตกโดย
อนันตรปัจจัย (2)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :484 }