เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 87. สวิตักกทุกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่มีวิตกเกิดระคนกับสภาวธรรมที่มีวิตกเพราะนเหตุปัจจัย (พึงเพิ่ม
เป็น 6 วาระอย่างนี้ เหมือนกับอนุโลม พึงกําหนดว่าเป็นอเหตุกะ มีเพียง 3 วาระ
เท่านั้น พึงยกโมหะขึ้นแสดง)

นเหตุปัจจัย มี 6 วาระ
นอธิปติปัจจัย มี 6 วาระ
นปุเรชาตปัจจัย มี 6 วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย มี 6 วาระ
นอาเสวนปัจจัย มี 6 วาระ
นกัมมปัจจัย มี 4 วาระ
นวิปากปัจจัย มี 6 วาระ
นฌานปัจจัย มี 1 วาระ
นมัคคปัจจัย มี 6 วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย มี 6 วาระ

ปัจจนียะ จบ
(การนับ 2 อย่างนอกนี้และสัมปยุตตวาร พึงทําอย่างนี้)

87. สวิตักกทุกะ 7. ปัญหาวาร
1. ปัจจยานุโลม 1. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[116] สภาวธรรมที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกโดยเหตุปัจจัย ได้แก่
เหตุที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
สภาวธรรมที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกโดยเหตุปัจจัย ได้แก่
เหตุที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่วิตกและจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
(พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) เหตุที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ วิตกและจิตต-
สมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (3)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :479 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 87. สวิตักกทุกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกโดยเหตุปัจจัย ได้แก่
เหตุที่ไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย ใน
ปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (1)

อารัมมณปัจจัย
[117] สภาวธรรมที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกโดยอารัมมณปัจจัย
ได้แก่ เพราะปรารภขันธ์ที่มีวิตก ขันธ์ที่มีวิตกจึงเกิดขึ้น (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล)
เพราะปรารภขันธ์ที่มีวิตก ขันธ์ที่ไม่มีวิตกและวิตกจึงเกิดขึ้น (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล)
เพราะปรารภขันธ์ที่มีวิตก ขันธ์ที่มีวิตกและวิตกจึงเกิดขึ้น (3)
[118] สภาวธรรมที่ไม่มีวิตก เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกโดย
อารัมมณปัจจัย ได้แก่ พระอริยะออกจากฌานที่ไม่มีวิตกแล้วพิจารณาฌานที่ไม่มี
วิตกออกจากมรรคแล้ว พิจารณามรรค ออกจากผลแล้ว พิจารณาผล พิจารณา
นิพพาน นิพพานเป็นปัจจัยแก่มรรคที่ไม่มีวิตก ผลและวิตกโดยอารัมมณปัจจัย
บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ขันธ์ที่ไม่มีวิตกและวิตก โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง
ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น วิตกจึง
เกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รู้จิตของบุคคลผู้มี
ความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่ไม่มีวิตกด้วยเจโตปริยญาณ อากาสานัญจายตนะ ฯลฯ
อากิญจัญญายตนะ ฯลฯ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ
โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ขันธ์ที่ไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ และวิตกโดย
อารัมมณปัจจัย เพราะปรารภขันธ์ที่ไม่มีวิตกและวิตก ขันธ์ที่ไม่มีวิตกและวิตก
จึงเกิดขึ้น (1)
สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกโดยอารัมมณปัจจัย
ได้แก่ พระอริยะออกจากฌานที่ไม่มีวิตก ฯลฯ ออกจากมรรค ฯลฯ ออกจาก
ผลแล้วพิจารณาผล พิจารณานิพพาน นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน
มรรคที่มีวิตก ผลและอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :480 }