เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 86. ภาวนายปหาตัพพเหตุกทุกะ 7. ปัญหาวาร
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินราคะที่มีเหตุต้องประหาณด้วย
มรรคเบื้องบน 3 ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทําความยินดีเพลิดเพลิน
ราคะนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน
3 จึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3
เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยอธิปติปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3 เป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3 โดยอธิปติปัจจัย มี 2
อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินราคะที่มีเหตุต้องประหาณด้วย
มรรคเบื้องบน 3 ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทําความยินดีเพลิดเพลิน
ราคะนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้อง
บน 3 จึงเกิดขึ้น ทิฏฐิ ฯลฯ
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3
เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3 เป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3 และที่มีเหตุไม่ต้องประหาณ
ด้วยมรรคเบื้องบน 3 โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิบดีธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3 เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (3)
[98] สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3 เป็นปัจจัย
แก่สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3 โดยอธิปติปัจจัย
มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว
พิจารณากุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ยินดีเพลิดเพลิน เพราะทําความ
ยินดีเพลิดเพลินกุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่มีเหตุไม่ต้อง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :466 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 86. ภาวนายปหาตัพพเหตุกทุกะ 7. ปัญหาวาร
ประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3 จึงเกิดขึ้น ทิฏฐิ ฯลฯ บุคคลพิจารณากุศลที่เคย
สั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจากฌาน ฯลฯ พระอริยะออกจากมรรค ฯลฯ เป็น
ปัจจัยแก่ผลโดยอธิปติปัจจัย บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ และ
ขันธ์ที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3 ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
เพราะทําความยินดีเพลิด เพลินจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
ราคะที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3 จึงเกิดขึ้น ทิฏฐิ ฯลฯ
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรค
เบื้องบน 3 เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3 เป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3 โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว
คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน ฯลฯ ออกจากฌาน ฯลฯ ยินดี
เพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ และขันธ์ที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน
3 ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทําความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น
ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3 จึง
เกิดขึ้น (2)
(ในอนันตรปัจจัย ไม่พึงเพิ่มโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา เพราะเหตุแห่ง
สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3 แต่พึงเพิ่มโมหะที่สหรคต
ด้วยอุทธัจจะ)

... เป็นปัจจัยโดยสมนันตรปัจจัย
... เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย มี 9 วาระ
... เป็นปัจจัยโดยอัญญมัญญปัจจัย มี 6 วาระ
... เป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย มี 9 วาระ

อุปนิสสยปัจจัย
[99] สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3 เป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3 โดยอุปนิสสยปัจจัย
มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :467 }