เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 85. ทัสสเนนปหาตัพพเหตุกทุกะ 7. ปัญหาวาร
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ โดยเป็น
สภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุ
เป็นต้นนั้น ราคะที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคจึงเกิดขึ้น อุทธัจจะ
ฯลฯ โทมนัสที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูป
ด้วยทิพพจักขุ ฯลฯ (ย่อ วัตถุปุเรชาตะ ย่อ) (1)
สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค เป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคโดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง
คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ
เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ราคะที่มีเหตุต้องประหาณด้วย
โสดาปัตติมรรคจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิ ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ โทมนัสที่มีเหตุต้องประหาณ
ด้วยโสดาปัตติมรรคจึงเกิดขึ้น (วัตถุปุเรชาตะ ย่อ) (2)
สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติ-
มรรคโดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ เพราะปรารภจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ขันธ์ที่
สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและโมหะจึงเกิดขึ้น (วัตถุปุเรชาตะ ย่อ) (3)

ปัจฉาชาตปัจจัยและอาเสวนปัจจัย
[82] สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคโดยปัจฉาชาตปัจจัย (ย่อ)
สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคโดยปัจฉาชาตปัจจัย (ย่อ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :457 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 85. ทัสสเนนปหาตัพพเหตุกทุกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและที่มีเหตุไม่ต้องประหาณ
ด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติ-
มรรคโดยปัจฉาชาตปัจจัย (ย่อ)
... เป็นปัจจัยโดยอาเสวนปัจจัย

กัมมปัจจัยเป็นต้น
[83] สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคโดยกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนา
ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยกัมมปัจจัย
(พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่
จิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัย
แก่ขันธ์ที่เป็นวิบากและกฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติ-
มรรคโดยกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็น
ปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย (3)
สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคโดยกัมมปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะ
และนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัย
แก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากและกฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :458 }