เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 84. ภาวนายปหาตัพพทุกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3 เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3 โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน
สมาทานศีล ฯลฯ พิจารณาฌาน ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ
และขันธ์ที่ไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3 เพราะปรารภความยินดี
เพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ราคะที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3 จึงเกิดขึ้น
อุทธัจจะ ฯลฯ โทมนัสที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3 จึงเกิดขึ้น (2)

อธิปติปัจจัย
[39] สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3 เป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3 โดยอธิปติปัจจัย มี 2 อย่าง คือ
อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินราคะที่ต้องประหาณด้วยมรรค
เบื้องบน 3 ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทําความยินดีเพลิดเพลินราคะ
นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3 จึง
เกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3 เป็น
ปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยอธิปติปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3 เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่
ไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3 โดยอธิปติปัจจัย มี 2 อย่าง คือ
อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินราคะที่ต้องประหาณด้วยมรรค
เบื้องบน 3 ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทําความยินดีเพลิดเพลินราคะนั้น
ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่ไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3 จึงเกิดขึ้น
ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3 เป็น
ปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (2)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :429 }