เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 83. ทัสสเนนปหาตัพพทุกะ 7. ปัญหาวาร
ฯลฯ ราคะที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค ฯลฯ ความปรารถนา ฯลฯ
สุขทางกาย ฯลฯ เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ ปัญญา ... ราคะที่ไม่
ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค ฯลฯ ความปรารถนา ... สุขทางกาย ...
ทุกข์ทางกาย ... มรรค และผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่
ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ
อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาแล้ว ถือทิฏฐิ อาศัยศีล ฯลฯ ปัญญา
ฯลฯ ราคะที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค ... โทสะ ... โมหะ ... มานะ ...
ความปรารถนา ... สุขทางกาย ฯลฯ เสนาสนะแล้ว ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์
ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ราคะที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค ...
โทสะ ... โมหะ ... ทิฏฐิ และความปรารถนาโดยอุปนิสสยปัจจัย (2)

ปุเรชาตปัจจัย
[21] สภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคโดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ
อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็น
สภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุ
เป็นต้นนั้น ราคะที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค ฯลฯ อุทธัจจะ ฯลฯ
โทมนัสที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ
ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ
กายายตนะ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค
โดยปุเรชาตปัจจัย (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :418 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 83. ทัสสเนนปหาตัพพทุกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่
ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคโดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ
อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ
เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ราคะที่ต้องประหาณด้วย
โสดาปัตติมรรค ฯลฯ ทิฏฐิ ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ โทมนัสที่ต้องประหาณด้วย
โสดาปัตติมรรคจึงเกิดขึ้น
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ต้องประหาณด้วย
โสดาปัตติมรรคโดยปุเรชาตปัจจัย (2)

ปัจฉาชาตปัจจัยและอาเสวนปัจจัย
[22] สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคโดยปัจฉาชาตปัจจัย (ย่อ) (1)
สภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่
ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคโดยปัจฉาชาตปัจจัย (ย่อ)
... เป็นปัจจัยโดยอาเสวนปัจจัย มี 2 วาระ

กัมมปัจจัย
[23] สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคโดยกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่ต้องประหาณด้วย
โสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยกัมมปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่
ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคโดยกัมมปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะ
และนานาขณิกะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :419 }