เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 83. ทัสสเนนปหาตัพพทุกะ 7. ปัญหาวาร
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินราคะที่ต้องประหาณด้วย
โสดาปัตติมรรคให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทําความยินดีเพลิดเพลินราคะ
นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค ฯลฯ
ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น ยินดีเพลิดเพลินทิฏฐิให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็น
ปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยอธิปติปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่
ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ
ได้แก่ อธิบดีธรรมที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป
โดยอธิปติปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ต้อง
ประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคโดยอธิปติปัจจัย
มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติ-
มรรคเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (3)
[17] สภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคโดยอธิปติปัจจัย มี 2 อย่าง คือ
อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ฯลฯ
พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจากฌานแล้วพิจารณาฌานให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่นยินดีเพลิดเพลิน เพราะทําความยินดีเพลิดเพลินฌานนั้นให้
เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคจึงเกิดขึ้น
พระอริยะออกจากมรรคแล้วพิจารณามรรคให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ
เป็นปัจจัยแก่ผลโดยอธิปติปัจจัย บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุและ
ขันธ์ที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทํา
ความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่ไม่ต้อง
ประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคจึงเกิดขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :415 }