เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 56. จิตตทุกะ 7. ปัญหาวาร
มีดังนี้) รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่
กายวิญญาณ ฯลฯ ขันธ์ที่ไม่เป็นจิตเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ ฯลฯ อาวัชชนจิต
โดยอารัมมณปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นจิตและที่ไม่เป็นจิตโดย
อารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน ฯลฯ (เหมือนกับข้อความตอนต้น ไม่มีข้อแตก
ต่างกัน ส่วนที่ต่างกันมีดังนี้) รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณและสัมปยุตต ขันธ์
ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณและสัมปยุตตขันธ์ ฯลฯ ขันธ์ที่ไม่
เป็นจิตเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ ฯลฯ อาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (3)
สภาวธรรมที่เป็นจิตและที่ไม่เป็นจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นจิตโดย
อารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภจิตและสัมปยุตตขันธ์ จิตจึงเกิดขึ้น มี 3 วาระ

อธิปติปัจจัย
[73] สภาวธรรมที่เป็นจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นจิตโดยอธิปติปัจจัย
มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ เพราะทําจิตให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
จิตจึงเกิดขึ้น (1)
สภาวธรรมที่เป็นจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นจิตโดยอธิปติปัจจัย
มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ เพราะทําจิตให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ขันธ์ที่ไม่
เป็นจิตจึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นจิตเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และ
จิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นจิตและที่ไม่เป็นจิตโดย
อธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ เพราะทําจิตให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น จิตและสัมปยุตตขันธ์จึงเกิดขึ้น (3)
[74] สภาวธรรมที่ไม่เป็นจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นจิตโดยอธิปติ-
ปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :41 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 56. จิตตทุกะ 7. ปัญหาวาร
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว
พิจารณากุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ยินดีเพลิดเพลิน เพราะทําความ
ยินดีเพลิดเพลินกุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น
บุคคลพิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจากฌาน ฯลฯ พระอริยะ
ออกจากมรรคแล้วพิจารณามรรคให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณาผล ฯลฯ
พิจารณานิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน
มรรค และผลโดยอธิปติปัจจัย บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ และ
ขันธ์ที่ไม่เป็นจิตให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทําความยินดีเพลิดเพลินจักษุ
เป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่ไม่เป็นจิตเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และ
จิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นจิตโดยอธิปติปัจจัย
(ข้อความแห่งปัจจัยทั้ง 2 อย่าง เหมือนกับตอนต้น ไม่มีข้อแตกต่างกัน พึงเพิ่ม
อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ) (2)
สภาวธรรมที่เป็นจิตและที่ไม่เป็นจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นจิตโดย
อธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ (พึงเพิ่มคำว่า ทำให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่นทั้ง 3 วาระ มีเฉพาะอารัมมณาธิปติเท่านั้น)

อนันตรปัจจัย
[75] สภาวธรรมที่เป็นจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นจิตโดยอนันตรปัจจัย
ได้แก่ จิตที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่จิตที่เกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นจิตโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่
จิตที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็นจิตซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย
จิตเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะโดยอนันตรปัจจัย (2)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :42 }