เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 79. กิเลสสังกิเลสิกทุกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกิเลส
และเป็นอารมณ์ของกิเลสเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ สัมปยุตตขันธ์และจิตต-
สมุฏฐานรูปอาศัยกิเลสเกิดขึ้น (2)
สภาวธรรมที่เป็นกิเลสเป็นอารมณ์ของกิเลสและที่เป็นอารมร์ของกิเลสแต่ไม่
เป็นกิเลส อาศัยสภาวธรรมที่เป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของกิเลสเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย
ได้แก่ โมหะ ทิฏฐิ ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ สัมปยุตตขันธ์ และ
จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยโลภะเกิดขึ้น (3)
(โดยนัยนี้ ปฏิจจวาร สหชาตวาร ปัจจยวาร นิสสยวาร สังสัฏฐวาร และ
สัมปยุตตวาร ก็เหมือนกับกิเลสทุกะ ไม่มีข้อแตกต่างกัน ส่วนการระบุข้อความ
ต่างกัน)

79. กิเลสสังกิเลสิกทุกะ 7. ปัญหาวาร
1. ปัจจยานุโลม 1. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[75] สภาวธรรมที่เป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของกิเลสโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่เป็นกิเลสและเป็น
อารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตกิเลสโดยเหตุปัจจัย (โดยนัยนี้ จึงมี 4 วาระ
เหมือนกับกิเลสทุกะ) (4)

อารัมมณปัจจัย
[76] สภาวธรรมที่เป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของกิเลสโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภกิเลส
ขันธ์ที่เป็นกิเลสจึงเกิดขึ้น (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) เพราะปรารภกิเลส ขันธ์ที่เป็น
อารมณ์ของกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสจึงเกิดขึ้น (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) เพราะปรารภกิเลส
กิเลสและสัมปยุตตขันธ์จึงเกิดขึ้น (3)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :393 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 79. กิเลสสังกิเลสิกทุกะ 7. ปัญหาวาร
[77] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่
บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ฯลฯ พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว
ฯลฯ ออกจากฌานแล้วพิจารณาฌาน ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดี
เพลิดเพลินฌานนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ อุทธัจจะ ฯลฯ เมื่อฌานเสื่อมแล้ว
โทมนัสจึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความเดือดร้อน พระอริยะพิจารณาโคตรภู พิจารณา
โวทาน บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุและขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของกิเลสแต่ไม่
เป็นกิเลสโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ
ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่อาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (สองวาระนอกนี้ เหมือนกับ
กิเลสทุกะ แม้อารัมมณฆฏนาก็เหมือนกับกิเลสทุกะ)

อธิปติปัจจัย
[78] สภาวธรรมที่เป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของกิเลสโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ
มี 3 วาระ
สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น
อารมณ์ของกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสโดยอธิปติปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ
และสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ฯลฯ
พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจากฌานแล้วพิจารณาฌานให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น พระเสขะพิจารณาโคตรภูให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นพิจารณา
พิจารณาโวทานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทําจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุและ
ขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ขันธ์ที่
เป็นอารมณ์ของกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสจึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นอารมณ์ของกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสเป็น
ปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (วาระ 2 อย่างนอกนี้
เหมือนกับกิเลสทุกะ แม้อธิปติฆฏนาก็เหมือนกับกิเลสทุกะ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :394 }