เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 77. สังกิลิฏฐทุกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้
เศร้าหมองโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ พระอริยะพิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว
พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น ฯลฯ เห็นแจ้งขันธ์ที่กิเลสทำให้
เศร้าหมองโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ รู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิต
ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองด้วยเจโตปริยญาณ ขันธ์ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองเป็นปัจจัย
แก่เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ
และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (2)
[53] สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กิเลส
ไม่ทำให้เศร้าหมองโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษา
อุโบสถ ฯลฯ พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจากฌานแล้วพิจารณาฌาน
พระอริยะออกจากมรรคแล้วพิจารณามรรค ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่อาวัชชนจิตโดย
อารัมมณปัจจัย บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ และขันธ์ที่กิเลสไม่ทำให้
เศร้าหมองโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ เห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฯลฯ เป็นปัจจัย
แก่อนาคตังสญาณและอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กิเลสทำให้
เศร้าหมองโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล ฯลฯ ออก
จากฌาน ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุและขันธ์ที่กิเลสไม่ทำให้
เศร้าหมอง เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ราคะ ฯลฯ โทมนัส
จึงเกิดขึ้น (2)

อธิปติปัจจัย
[54] สภาวธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กิเลสทำ
ให้เศร้าหมองโดยอธิปติปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินราคะให้เป็นอารมณ์อย่างหนัก
แน่นเพราะทําความยินดีเพลิดเพลินราคะนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :382 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 77. สังกิลิฏฐทุกะ 7. ปัญหาวาร
จึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น ยินดีเพลิดเพลินทิฏฐิให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
เพราะทําความยินดีเพลิดเพลินทิฏฐินั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น
ทิฏฐิ ฯลฯ
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมองเป็นปัจจัยแก่
สัมปยุตตขันธ์โดยอธิปติปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้
เศร้าหมองโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียวคือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่
กิเลสทำให้เศร้าหมองเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กิเลสทำให้
เศร้าหมองและไม่ทำให้เศร้าหมองโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ
ได้แก่ อธิบดีธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมองเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตต-
สมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (3)
[55] สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่
กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองโดยอธิปติปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและ
สหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ฯลฯ
พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจากฌานแล้วพิจารณาฌานให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น พระอริยะออกจากมรรคแล้วพิจารณามรรคให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น ฯลฯ นิพพานเป็นปัจจัยแก่ผลโดยอธิปติปัจจัย
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองเป็นปัจจัยแก่
สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กิเลสทำให้
เศร้าหมองโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน
สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ฯลฯ พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออก
จากฌาน ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุและขันธ์ที่กิเลสไม่ทำให้
เศร้าหมองให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทําความยินดีเพลิดเพลินจักษุ
เป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น (2)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :383 }