เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 77. สังกิลิฏฐทุกะ 5. สังสัฏฐวาร

อธิปติปัจจัย มี 2 วาระ

(ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ 2 วาระ)

วิปากปัจจัย มี 1 วาระ
อวิคตปัจจัย มี 2 วาระ

อนุโลม จบ
[50] สภาวธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมองเกิดระคนกับสภาวธรรมที่กิเลสทำ
ให้เศร้าหมองเพราะนเหตุปัจจัย ได้แก่ โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วย
อุทธัจจะเกิดระคนกับขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ (1)
สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองเกิดระคนกับสภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้
เศร้าหมองเพราะนเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 เกิดระคนกับขันธ์ 1 ที่ไม่มีเหตุซึ่ง
กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมอง ฯลฯ เกิดระคนกับขันธ์ 2 ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะที่เป็น
อเหตุกะ ฯลฯ (1)

นเหตุปัจจัย มี 2 วาระ
นอธิปติปัจจัย มี 2 วาระ
นปุเรชาตปัจจัย มี 2 วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย มี 2 วาระ
นอาเสวนปัจจัย มี 2 วาระ
นกัมมปัจจัย มี 2 วาระ
นวิปากปัจจัย มี 2 วาระ
นฌานปัจจัย มี 1 วาระ
นมัคคปัจจัย มี 1 วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย มี 2 วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย มี 2 วาระ

ปัจจนียะ จบ
(การนับ 2 อย่างนอกนี้และสัมปยุตตวาร พึงทำอย่างนี้)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :380 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 77. สังกิลิฏฐทุกะ 7. ปัญหาวาร
77. สังกิลิฏฐทุกะ 7. ปัญหาวาร
1. ปัจจยานุโลม 1 วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[51] สภาวธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กิเลส
ทำให้เศร้าหมองโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่กิเลสทำให้เศร้าหมองเป็นปัจจัยแก่
สัมปยุตตขันธ์โดยเหตุปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้
เศร้าหมองโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่กิเลสทำให้เศร้าหมองเป็นปัจจัยแก่จิตต-
สมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กิเลสทำให้
เศร้าหมองและไม่ทำให้เศร้าหมองโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่กิเลสทำให้เศร้าหมอง
เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย (3)
สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำ
ให้เศร้าหมองโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองเป็นปัจจัยแก่
สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (1)

อารัมมณปัจจัย
[52] สภาวธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กิเลส
ทำให้เศร้าหมองโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินราคะ เพราะ
ปรารภความยินดีเพลิดเพลินราคะนั้น ราคะ ฯลฯ ทิฏฐิ ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ
อุทธัจจะ ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น ยินดีทิฏฐิ ฯลฯ (เหมือนกับกุสลติกะ) เพราะ
ปรารภวิจิกิจฉา ฯลฯ เพราะปรารภอุทธัจจะ ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิ ฯลฯ
วิจิกิจฉา ฯลฯ อุทธัจจะจึงเกิดขึ้น (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :381 }