เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 75. กิเลสทุกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่ไม่เป็นกิเลสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกิเลสโดยอัตถิปัจจัย
มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ (ย่อ สหชาตัตถิเหมือนกับสหชาตะ
ปุเรชาตัตถิเหมือนกับปุเรชาตะ)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นกิเลสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกิเลสและไม่เป็นกิเลส
โดยอัตถิปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ (สหชาตัตถิเหมือนกับ
สหชาตะ ปุเรชาตัตถิเหมือนกับปุเรชาตะ) (3)
[31] สภาวธรรมที่เป็นกิเลสและไม่เป็นกิเลสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น
กิเลสโดยอัตถิปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ โลภะและสัมปยุตตขันธ์เป็นปัจจัยแก่โมหะ ทิฏฐิ ถีนะ
อุทธัจจะ อหิริกะ และอโนตตัปปะโดยอัตถิปัจจัย (พึงผูกเป็นจักกนัย)
สหชาตะ ได้แก่ โลภะและหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่โมหะ ทิฏฐิ ถีนะ อุทธัจจะ
อหิริกะ และอโนตตัปปะโดยอัตถิปัจจัย (พึงผูกเป็นจักกนัย) (1)
สภาวธรรมที่เป็นกิเลสและไม่เป็นกิเลสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นกิเลส
โดยอัตถิปัจจัย มี 5 อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ
และอินทรียะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่ไม่เป็นกิเลส และกิเลสเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3
และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ 2 ฯลฯ
สหชาตะ ได้แก่ กิเลสและมหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดย
อัตถิปัจจัย
สหชาตะ ได้แก่ กิเลสและหทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็นกิเลสโดย
อัตถิปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ กิเลสและสัมปยุตตขันธ์เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดย
อัตถิปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ กิเลส สัมปยุตตขันธ์ และกวฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่
กายนี้โดยอัตถิปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :368 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 75. กิเลสทุกะ 7. ปัญหาวาร
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ กิเลส สัมปยุตตขันธ์ และรูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่
กฏัตตารูปโดยอัตถิปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นกิเลสและไม่เป็นกิเลสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกิเลส
และไม่เป็นกิเลสโดยอัตถิปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่ไม่เป็นกิเลส และโลภะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3
จิตตสมุฏฐานรูป โมหะ ทิฏฐิ ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะและอโนตตัปปะโดยอัตถิปัจจัย
ฯลฯ ขันธ์ 2 ฯลฯ
สหชาตะ ได้แก่ โลภะและหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่โมหะ ทิฏฐิ ถีนะ อุทธัจจะ
อหิริกะ อโนตตัปปะและสัมปยุตตขันธ์โดยอัตถิปัจจัย (พึงผูกเป็นจักกนัย) (3)
... เป็นปัจจัยโดยนัตถิปัจจัย
... เป็นปัจจัยโดยวิคตปัจจัย
... เป็นปัจจัยโดยอวิคตปัจจัย

1. ปัจจยานุโลม 2. สังขยาวาร
สุทธนัย

[32] เหตุปัจจัย มี 4 วาระ
อารัมมณปัจจัย มี 9 วาระ
อธิปติปัจจัย มี 9 วาระ
อนันตรปัจจัย มี 9 วาระ
สมนันตรปัจจัย มี 9 วาระ
สหชาตปัจจัย มี 9 วาระ
อัญญมัญญปัจจัย มี 9 วาระ
นิสสยปัจจัย มี 9 วาระ
อุปนิสสยปัจจัย มี 9 วาระ
ปุเรชาตปัจจัย มี 3 วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :369 }