เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 75. กิเลสทุกะ 7. ปัญหาวาร
75. กิเลสทุกะ 7. ปัญหาวาร
1. ปัจจยานุโลม 1. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[16] สภาวธรรมที่เป็นกิเลสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกิเลสโดยเหตุปัจจัย
ได้แก่ เหตุที่เป็นกิเลสเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตกิเลสโดยเหตุปัจจัย (พึงอ้างบทที่เป็นมูล)
เหตุที่เป็นกิเลสเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย (พึงอ้าง
บทที่เป็นมูล) เหตุที่เป็นกิเลสเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ กิเลส และจิตตสมุฏฐานรูป
โดยเหตุปัจจัย (3)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นกิเลสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นกิเลสโดยเหตุปัจจัย
ได้แก่ เหตุที่ไม่เป็นกิเลสเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (1)

อารัมมณปัจจัย
[17] สภาวธรรมที่เป็นกิเลสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกิเลสโดย
อารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภกิเลส กิเลสจึงเกิดขึ้น (พึงอ้างบทที่เป็นมูล)
เพราะปรารภกิเลส สภาวธรรมที่ไม่เป็นกิเลสจึงเกิดขึ้น (พึงอ้างบทที่เป็นมูล)
เพราะปรารภกิเลส กิเลสและสัมปยุตตขันธ์จึงเกิดขึ้น (3)
[18] สภาวธรรมที่ไม่เป็นกิเลสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นกิเลสโดย
อารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ฯลฯ
พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจากฌานแล้ว พิจารณาฌาน ยินดี
เพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินฌานนั้น ราคะ ฯลฯ ทิฏฐิ ฯลฯ
วิจิกิจฉา ฯลฯ อุทธัจจะ ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น พระอริยะออกจากมรรค ฯลฯ
เป็นปัจจัยแก่ผลและอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ
และขันธ์ที่ไม่เป็นกิเลสโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็น
รูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่อนาคตังสญาณ
และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :360 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 75. กิเลสทุกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่ไม่เป็นกิเลสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกิเลสโดยอารัมมณปัจจัย
ได้แก่ บุคคลให้ทาน ฯลฯ ออกจากฌานแล้ว ยินดีเพลิดเพลินฌาน เพราะ
ปรารภความยินดีเพลิดเพลินฌานนั้น ราคะ ฯลฯ ทิฏฐิ ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ
อุทธัจจะจึงเกิดขึ้น เมื่อฌานเสื่อมแล้ว โทมนัสจึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความเดือดร้อน
บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ และขันธ์ที่ไม่เป็นกิเลส เพราะปรารภ
ความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ราคะ ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น (2)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นกิเลสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกิเลสและที่ไม่เป็น
กิเลสโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน ฯลฯ ออกจากฌาน ฯลฯ ยินดี
เพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ และขันธ์ที่ไม่เป็นกิเลส เพราะปรารภความยินดี
เพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น กิเลสและสัมปยุตตขันธ์จึงเกิดขึ้น (3)
สภาวธรรมที่เป็นกิเลสและไม่เป็นกิเลสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกิเลส
โดยอารัมมณปัจจัย มี 3 วาระ

อธิปติปัจจัย
[19] สภาวธรรมที่เป็นกิเลสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกิเลสโดย
อธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ เพราะทำกิเลสให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น กิเลสจึงเกิดขึ้น มี 3 วาระ (มีเฉพาะอารัมมณาธิปติปัจจัย
เท่านั้น) (3)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นกิเลสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นกิเลสโดยอธิปติปัจจัย
มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว
พิจารณากุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ยินดีเพลิดเพลิน เพราะทำความ
ยินดีเพลิดเพลินกุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น
บุคคลพิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจากฌาน ฯลฯ พระอริยะ
ออกจากมรรคแล้วพิจารณามรรคให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ เป็นปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :361 }