เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 72. อุปาทานอุปาทานิยทุกะ 1. ปฏิจจวาร
72. อุปาทานอุปาทานิยทุกะ 1. ปฏิจจวาร
1. ปัจจยานุโลม 1. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[95] สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทานอาศัย
สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทานเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่
กามุปาทานอาศัยทิฏฐุปาทานเกิดขึ้น ทิฏฐุปาทานอาศัยกามุปาทานเกิดขึ้น (พึง
ทำเป็นจักกนัย) (1)
สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานอาศัยสภาวธรรมที่
เป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทานเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ สัมปยุตต-
ขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยอุปาทานเกิดขึ้น (2)
สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานเป็นอารมณ์ของอุปาทานและที่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ กามุปาทาน สัมปยุตตขันธ์ และ
จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยทิฏฐุปาทานเกิดขึ้น (พึงทำเป็นจักกนัย) (3)
[96] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานอาศัย
สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่
ขันธ์ 3 และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ 1 ที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็น
อุปาทานเกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ 2 ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (พึงเพิ่ม
ข้อความจนถึงมหาภูตรูปที่เป็นภายใน) (1)
สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทานอาศัยสภาวธรรมที่
เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ อุปาทาน
อาศัยขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานเกิดขึ้น (2)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :339 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 72. อุปาทานอุปาทานิยทุกะ 1. ปฏิจจวาร
สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานเป็นอารมณ์ของอุปาทานและที่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็น
อุปาทานเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 อุปาทาน และจิตตสมุฏฐานรูป
อาศัยขันธ์ 1 ที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานเกิดขึ้น ฯลฯ อาศัย
ขันธ์ 2 ฯลฯ (3)
[97] สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทานอาศัย
สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานเป็นอารมณ์ของอุปาทานและที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
แต่ไม่เป็นอุปาทานเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ กามุปาทานอาศัยทิฏฐุปาทาน
และสัมปยุตตขันธ์เกิดขึ้น (พึงทำเป็นจักกนัย) (1)
สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานอาศัยสภาวธรรมที่
เป็นอุปาทานเป็นอารมณ์ของอุปาทานและที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็น
อุปาทานเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ 1
ที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานและอาศัยอุปาทานเกิดขึ้น ฯลฯ
อาศัยขันธ์ 2 ฯลฯ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยอุปาทานและมหาภูตรูปเกิดขึ้น (2)
สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานเป็นอารมณ์ของอุปาทานและที่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอุปาทานเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานและที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย
ได้แก่ ขันธ์ 3 กามุปาทาน และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ 1 ที่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานและอาศัยทิฏฐุปาทานเกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ 2 ฯลฯ
(พึงทำเป็นจักกนัย) (3)
(โดยนัยนี้ ปฏิจจวาร สหชาตวาร ปัจจยวาร นิสสยวาร สังสัฏฐวาร และ
สัมปยุตตวาร พึงทำเหมือนกับอุปาทานทุกะ ไม่มีข้อแตกต่างกัน แต่การระบุ
บุคคลต่างกัน)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :340 }