เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 71. อุปาทานสัมปยุตตทุกะ 7. ปัญหาวาร
[78] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานและที่วิปปยุตจากอุปาทานเป็นปัจจัย
แก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานโดยอุปนิสสยปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่สหรคตด้วย
โลภะซึ่งวิปปยุตจากทิฏฐิและโลภะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอุปาทานโดย
อุปนิสสยปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) ขันธ์ที่สหรคตด้วยโลภะซึ่งวิปปยุตจากทิฏฐิ
และโลภะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่วิปปยุตจากอุปาทานและโลภะโดยอุปนิสสยปัจจัย (พึง
เพิ่มบทที่เป็นมูล) ขันธ์ที่สหรคตด้วยโลภะซึ่งวิปปยุตจากทิฏฐิและโลภะเป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยโลภะซึ่งวิปปยุตจากทิฏฐิและโลภะโดยอุปนิสสยปัจจัย (3)

ปุเรชาตปัจจัย
[79] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุต
จากอุปาทานโดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะ และ
วัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็น
สภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วย
ทิพพโสตธาตุ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ
ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่วิปปยุตจากอุปาทานและโลภะโดยปุเรชาตปัจจัย
(1)
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
อุปาทานโดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ
เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอุปาทานโดย
ปุเรชาตปัจจัย (2)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :330 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 71. อุปาทานสัมปยุตตทุกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
อุปาทานและที่วิปปยุตจากอุปาทานโดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ
อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ เพราะปรารภจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ขันธ์
ที่สหรคตด้วยโลภะซึ่งวิปปยุตจากทิฏฐิ และโลภะจึงเกิดขึ้น
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยโลภะซึ่งวิปปยุต
จากทิฏฐิและโลภะโดยปุเรชาตปัจจัย (3)

ปัจฉาชาตปัจจัยและอาเสวนปัจจัย
[80] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุต
จากอุปาทานโดยปัจฉาชาตปัจจัย (ย่อ) (1)
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทาน
โดยปัจฉาชาตปัจจัย (ย่อ) (1)
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานและที่วิปปยุตจากอุปาทานเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทานโดยปัจฉาชาตปัจจัย (ย่อ) (1)
เป็นปัจจัยโดยอาเสวนปัจจัย

กัมมปัจจัยและวิปากปัจจัย
[81] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต
ด้วยอุปาทานโดยกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่สัมปยุตด้วยอุปาทานเป็นปัจจัยแก่
สัมปยุตตขันธ์โดยกัมมปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจาก
อุปาทานโดยกัมมปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่สัมปยุตด้วยอุปาทานเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป
โดยกัมมปัจจัย เจตนาที่สหรคตด้วยโลภะซึ่งวิปปยุตจากทิฏฐิเป็นปัจจัยแก่โลภะและ
จิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :331 }