เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 71. อุปาทานสัมปยุตตทุกะ 7. ปัญหาวาร
[68] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานและที่วิปปยุตจากอุปาทานเป็นปัจจัย
แก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภขันธ์
ที่สหรคตด้วยโลภะซึ่งวิปปยุตจากทิฏฐิและโลภะ ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอุปาทานจึง
เกิดขึ้น (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) เพราะปรารภขันธ์ที่สหรคตด้วยโลภะซึ่งวิปปยุตจาก
ทิฏฐิและโลภะ ขันธ์ที่วิปปยุตจากอุปาทานและโลภะจึงเกิดขึ้น (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล)
เพราะปรารภขันธ์ที่สหรคตด้วยโลภะซึ่งวิปปยุตจากทิฏฐิและโลภะ ขันธ์ที่สหรคต
ด้วยโลภะซึ่งวิปปยุตจากทิฏฐิและโลภะจึงเกิดขึ้น (3)

อธิปติปัจจัย
[69] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต
ด้วยอุปาทานโดยอธิปติปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ เพราะทำขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอุปาทานให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอุปาทานจึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานเป็นปัจจัยแก่
สัมปยุตตขันธ์โดยอธิปติปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ
และสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ เพราะทำขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอุปาทานให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น โลภะที่วิปปยุตจากทิฏฐิจึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานเป็นปัจจัยแก่
จิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย อธิบดีธรรมที่สหรคตด้วยโลภะซึ่งวิปปยุตจาก
ทิฏฐิเป็นปัจจัยแก่โลภะและจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล)
มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ เพราะทำขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอุปาทานให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น ขันธ์ที่สหรคตด้วยโลภะซึ่งวิปปยุตจากทิฏฐิและโลภะจึงเกิดขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :325 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 71. อุปาทานสัมปยุตตทุกะ 7. ปัญหาวาร
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานเป็นปัจจัยแก่
สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย อธิบดีธรรมที่สหรคตด้วยโลภะ
ซึ่งวิปปยุตจากทิฏฐิเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ โลภะและจิตตสมุฏฐานรูปโดย
อธิปติปัจจัย (3)
[70] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุต
จากอุปาทานโดยอธิปติปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล ฯลฯ ออกจากฌานแล้ว
พิจารณาฌานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ยินดีเพลิดเพลิน เพราะทำความยินดี
เพลิดเพลินฌานนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่วิปปยุตจากทิฏฐิจึงเกิดขึ้น
ฯลฯ พระอริยะออกจากมรรค ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่ผลโดยอธิปติปัจจัย บุคคล
ยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ขันธ์ที่วิปปยุตจากอุปาทาน และโลภะให้
เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่วิปปยุตจากทิฏฐิจึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทานเป็นปัจจัยแก่
สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
อุปาทานโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน
ฯลฯ ออกจากฌาน ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ขันธ์ที่วิปปยุต
จากอุปาทาน และโลภะให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดี
เพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึง
เกิดขึ้น (2)
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
อุปาทานและที่วิปปยุตจากอุปาทานโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ
ได้แก่ เพราะทำจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ขันธ์ที่วิปปยุตจากอุปาทาน และโลภะให้
เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ขันธ์ที่สหรคตด้วยโลภะซึ่งวิปปยุตจากทิฏฐิและโลภะ
จึงเกิดขึ้น (3)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :326 }