เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 69. อุปาทานทุกะ 7. ปัญหาวาร
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ อุปาทานเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยอัตถิปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานและที่ไม่เป็น
อุปาทานโดยอัตถิปัจจัย (ย่อ เหมือนกับปฏิจจวาร) (3)
[35] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทาน
โดยอัตถิปัจจัย มี 5 อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ
(ย่อ พึงขยายให้พิสดาร) (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานโดย
อัตถิปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ
สหชาตะ (เหมือนกับสหชาตปัจจัย)
ปุเรชาตะ (เหมือนกับปุเรชาตปัจจัย) (2)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานและที่
ไม่เป็นอุปาทานโดยอัตถิปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ (ย่อ
พึงจำแนกสหชาตะเหมือนกับสหชาตปัจจัย ปุเรชาตะเหมือนกับปุเรชาตปัจจัย) (3)
[36] สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานและที่ไม่เป็นอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เป็นอุปาทานโดยอัตถิปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ทิฏฐุปาทานและสัมปยุตตขันธ์เป็นปัจจัยแก่กามุปาทานโดย
อัตถิปัจจัย (พึงทำเป็นจักกนัย)
สหชาตะ ได้แก่ ทิฏฐุปาทานและหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่กามุปาทานโดย
อัตถิปัจจัย (พึงทำเป็นจักกนัย) (1)
สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานและที่ไม่เป็นอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่
ไม่เป็นอุปาทานโดยอัตถิปัจจัย มี 5 อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ
อาหาระ และอินทรียะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่ไม่เป็นอุปาทานและอุปาทานเป็นปัจจัยแก่
ขันธ์ 3 และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ 2 ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :306 }