เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 69. อุปาทานทุกะ 7. ปัญหาวาร
ฯลฯ พูดเพ้อเจ้อ ฯลฯ งัดแงะ ฯลฯ ปล้นไม่ให้เหลือ ฯลฯ ปล้นเรือนหลังเดียว
ฯลฯ ดักจี้ที่ทางเปลี่ยว ฯลฯ ล่วงเกินภรรยาผู้อื่น ฯลฯ ฆ่าชาวบ้าน ฯลฯ ฆ่า
ชาวนิคม ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่อุปาทานโดยอุปนิสสยปัจจัย (พึง
เพิ่มบทที่เป็นมูล) บุคคลอาศัยศรัทธาแล้ว มีมานะ ถือทิฏฐิ อาศัยศีล ฯลฯ
เสนาสนะแล้ว ลักทรัพย์ พูดเท็จ ฯลฯ พูดส่อเสียด ฯลฯ พูดเพ้อเจ้อ ฯลฯ งัดแงะ
ฯลฯ ปล้นไม่ให้เหลือ ฯลฯ ปล้นเรือนหลังเดียว ฯลฯ ดักจี้ที่ทางเปลี่ยว ฯลฯ
ล่วงเกินภรรยาผู้อื่น ฯลฯ ฆ่าชาวบ้าน ฯลฯ ฆ่าชาวนิคม ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะ
เป็นปัจจัยแก่อุปาทานและสัมปยุตตขันธ์โดยอุปนิสสยปัจจัย (3)
สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานและที่ไม่เป็นอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่
เป็นอุปาทานโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ
อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ มี 3 วาระ

ปุเรชาตปัจจัย
[28] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทาน
โดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็น
สภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วย
ทิพพโสตธาตุ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็น
ปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ
เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็นอุปาทานโดย
ปุเรชาตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานโดย
ปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :302 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 69. อุปาทานทุกะ 7. ปัญหาวาร
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ
เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่อุปาทานโดยปุเรชาตปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานและที่
ไม่เป็นอุปาทานโดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและ
วัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุเพราะ
ปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น อุปาทานและสัมปยุตตขันธ์จึงเกิดขึ้น
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่อุปาทานและสัมปยุตตขันธ์โดย
ปุเรชาตปัจจัย (3)

ปัจฉาชาตปัจจัยและอาเสวนปัจจัย
[29] สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทาน
โดยปัจฉาชาตปัจจัย (ย่อ) (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทานโดย
ปัจฉาชาตปัจจัย (ย่อ) (1)
สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานและที่ไม่เป็นอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่
เป็นอุปาทานโดยปัจฉาชาตปัจจัย (ย่อ) (1)
... เป็นปัจจัยโดยอาเสวนปัจจัย

กัมมปัจจัย
[30] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทาน
โดยกัมมปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่ไม่เป็นอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และ
จิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :303 }