เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 69. อุปาทานทุกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานและที่ไม่เป็นอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่
เป็นอุปาทานโดยอธิปติปัจจัย มี 3 วาระ โดยอารัมมณาธิปติปัจจัย มี 3 วาระ
(พึงเพิ่มคำว่า เพราะปรารภ มีเฉพาะอารัมมณาธิปติปัจจัย)

อนันตรปัจจัยเป็นต้น
[23] สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานโดย
อนันตรปัจจัย ได้แก่ อุปาทานที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่อุปาทานที่เกิดหลัง ๆ
โดยอนันตรปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) อุปาทานที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัย แก่ขันธ์
ที่ไม่เป็นอุปาทานซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย อุปาทานเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ
โดยอนันตรปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) อุปาทานที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัย
แก่อุปาทานและสัมปยุตตขันธ์ที่เกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย (3)
[24] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทาน
โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็นอุปาทานซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่
ไม่เป็นอุปาทานซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู ฯลฯ
ผลสมาบัติโดยอนันตรปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานโดย
อนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็นอุปาทานซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็น
อุปาทานซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย อาวัชชนจิตเป็นปัจจัยแก่อุปาทานโดย
อนันตรปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานและที่ไม่
เป็นอุปาทานโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็นอุปาทานซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็น
ปัจจัยแก่อุปาทานและสัมปยุตตขันธ์ที่เกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย อาวัชชนจิต
เป็นปัจจัยแก่อุปาทานและสัมปยุตตขันธ์โดยอนันตรปัจจัย (3)
[25] สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานและที่ไม่เป็นอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เป็นอุปาทานโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ อุปาทานและสัมปยุตตขันธ์ที่เกิดก่อน ๆ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :300 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 69. อุปาทานทุกะ 7. ปัญหาวาร
เป็นปัจจัยแก่อุปาทานที่เกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล)
อุปาทานและสัมปยุตตขันธ์ที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็นอุปาทานซึ่ง
เกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย อุปาทานและสัมปยุตตขันธ์เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ
โดยอนันตรปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) อุปาทานและสัมปยุตตขันธ์ที่เกิดก่อน ๆ
เป็นปัจจัยแก่อุปาทานและสัมปยุตตขันธ์ที่เกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย (3)
... เป็นปัจจัยโดยสมนันตรปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย (เหมือนกับ
ปฏิจจวาร) เป็นปัจจัยโดยอัญญมัญญปัจจัย (เหมือนกับปฏิจจวาร) เป็นปัจจัย
โดยนิสสยปัจจัย (เหมือนกับปัจจยวาร)

อุปนิสสยปัจจัย
[26] สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอุปาทาน
โดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ อุปาทานเป็นปัจจัยแก่อุปาทานโดยอุปนิสสยปัจจัย
มี 3 วาระ
[27] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทาน
โดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาแล้วให้ทาน ฯลฯ ทำสมาบัติให้
เกิดขึ้น มีมานะ ถือทิฏฐิ อาศัยศีล ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา
... สุขทางกาย ฯลฯ เสนาสนะแล้วให้ทาน ฯลฯ ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น มีมานะ
ถือทิฏฐิ ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่ศรัทธา
ฯลฯ ผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานโดย
อุปนิสสยปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาแล้ว
มีมานะ ถือทิฏฐิ อาศัยศีล ฯลฯ เสนาสนะแล้ว ลักทรัพย์ พูดเท็จ ฯลฯ พูดส่อเสียด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :301 }