เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 68. อุปาทินนทุกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและที่กรรมอันประกอบ
ด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือโดยอัตถิปัจจัย มี 2 อย่าง คือ ปัจฉาชาตะและอาหาระ
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือเป็น
ปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนซึ่งกรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและที่กรรม
อันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือโดยอัตถิปัจจัย กวฬิงการาหารที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหา
และทิฏฐิยึดถือและที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือโดยอัตถิปัจจัย (3)
[465] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและที่กรรม
อันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือโดยอัตถิปัจจัย มี 4 อย่าง คือ ปุเรชาตะ
ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ
ปุเรชาตะ ได้แก่ รูปายตนะที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ
และจักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและกายายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณโดย
อัตถิปัจจัย รูปายตนะที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและหทัยวัตถุ
ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะและหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาและทิฏฐิยึดถือโดยอัตถิปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและ
กวฬิงการาหารที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่
กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือโดยอัตถิปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและ
รูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดยอัตถิปัจจัย (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :281 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 68. อุปาทินนทุกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบ
ด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือโดยอัตถิปัจจัย มี 4 อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ
ปัจฉาชาตะ และอาหาระ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและมหา-
ภูตรูปเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ
และหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 โดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ 2 ฯลฯ
ปุเรชาตะ ได้แก่ รูปายตนะที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ
และหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือโดย
อัตถิปัจจัย ฯลฯ โผฏฐัพพายนะและหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือโดยอัตถิปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและ
กวฬิงการาหารที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่
กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือโดยอัตถิปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและที่กรรมอันประกอบ
ด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหา
และทิฏฐิยึดถือและที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิไม่ยึดถือโดยอัตถิปัจจัย มี
อย่างเดียว คือ อาหาระ ได้แก่ กวฬิงการาหารที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิยึดถือและที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่
กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิไม่ยึดถือโดยอัตถิปัจจัย (3)
... เป็นปัจจัยโดยนัตถิปัจจัย
... เป็นปัจจัยโดยวิคตปัจจัย
... เป็นปัจจัยโดยอวิคตปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :282 }