เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 68. อุปาทินนทุกะ 7. ปัญหาวาร
[463] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือเป็นปัจจัย
แก่สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือโดยวิปปยุตตปัจจัย
มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือเป็น
ปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยวิปปยุตตปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือเป็น
ปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนซึ่งกรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือโดย
วิปปยุตตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือโดยวิปปยุตตปัจจัย
มีอย่างเดียว คือ ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ไม่ยึดถือเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนซึ่งกรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ยึดถือโดยวิปปยุตตปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและที่กรรมอันประกอบ
ด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือโดยวิปปยุตตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปัจฉาชาตะ ได้
แก่ขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิด
ก่อนซึ่งกรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและที่กรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือโดยวิปปยุตตปัจจัย (3)

อัตถิปัจจัยเป็นต้น
[464] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือเป็นปัจจัย
แก่สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือโดยอัตถิปัจจัย มี 5 อย่าง
คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ (ย่อ พึงจำแนกบท
ตามที่ตั้งไว้ให้บริบูรณ์) (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :279 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 68. อุปาทินนทุกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือโดยอัตถิปัจจัย มี 4 อย่าง คือ
สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ และอาหาระ (ย่อ พึงขยายบทตามที่ตั้งไว้
ให้พิสดาร) (2)
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิไม่ยึดถือโดยอัตถิปัจจัย มี 3 อย่าง คือ สหชาตะ ปัจฉาชาตะ และอาหาระ
(ย่อ พึงขยายบทตามที่ตั้งไว้ให้พิสดาร) (3)
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ โดยอัตถิปัจจัย
มี 4 อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ และอาหาระ (ย่อ พึงจำแนก
บทตามที่ตั้งไว้) (1)
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือโดยอัตถิปัจจัย มี 3 อย่าง
คือ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ และอาหาระ
ปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่
ยึดถือ ฯลฯ เสียง ฯลฯ กลิ่น ฯลฯ รส ฯลฯ โผฏฐัพพะโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง
ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น เมื่อชวนจิตที่เป็นกุศลและอกุศลดับแล้ว จิตตุปบาทที่เป็น
วิบากจึงเกิดขึ้นโดยเป็นตทารมณ์ รูปายตนะที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ไม่ยึดถือเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ
ฯลฯ
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือเป็น
ปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนซึ่งกรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือโดยอัตถิปัจจัย
กวฬิงการาหารที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่
กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือโดยอัตถิปัจจัย (2)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :280 }