เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 68. อุปาทินนทุกะ 7. ปัญหาวาร
[452] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือเป็นปัจจัย
แก่สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือโดยอุปนิสสยปัจจัย
มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาแล้วให้ทาน มีมานะ ถือทิฏฐิ
อาศัยศีล ฯลฯ ความปรารถนา ฯลฯ อุตุ ฯลฯ โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะแล้วให้ทาน
ฯลฯ ทําลายสงฆ์ ศรัทธา ฯลฯ ความปรารถนา ฯลฯ อุตุฯลฯ โภชนะ ฯลฯ
เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ ความปรารถนา มรรคและผลสมาบัติโดย
อุปนิสสยปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือโดยอุปนิสสยปัจจัย
มี 2 อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาแล้วทําตนให้เดือดร้อน ให้ร้อนรน
เสวยทุกข์มีการแสวงหาเป็นมูล อาศัยศีล ฯลฯ ความปรารถนา ฯลฯ อุตุ ฯลฯ
โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะแล้วทําตนให้เดือดร้อน ให้ร้อนรน เสวยทุกข์มีการแสวง
หาเป็นมูล ฯลฯ ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่สุขทางกายและทุกข์
ทางกายโดยอุปนิสสยปัจจัย กรรมที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นปัจจัยแก่วิบากโดย
อุปนิสสยปัจจัย (2)

ปุเรชาตปัจจัย
[453] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือโดยปุเรชาตปัจจัย มี 2
อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ กายและรูปที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ... โผฏฐัพพะ และหทัยวัตถุโดยเป็นสภาวะไม่
เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น เมื่อชวนจิตที่เป็นกุศลและอกุศลดับแล้ว จิตตุปบาท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :270 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 68. อุปาทินนทุกะ 7. ปัญหาวาร
ที่เป็นวิบากจึงเกิดขึ้นโดยเป็นตทารมณ์ รูปายตนะที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหา
และทิฏฐิยึดถือเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ
เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ
เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่กรรมอันประกอบ
ด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือโดยปุเรชาตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือโดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ
อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ กายและรูปที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ และหทัยวัตถุ
โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปที่กรรมอันประกอบ
ด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือด้วยทิพพจักขุ
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือโดยปุเรชาตปัจจัย (2)
[454] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือเป็น
ปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือโดยปุเรชาตปัจจัย
มีอย่างเดียว คือ อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งรูปที่กรรมอันประกอบ
ด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ ฯลฯ เสียง ฯลฯ กลิ่น ฯลฯ โผฏฐัพพะโดยเป็น
สภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ (1)
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือโดยปุเรชาตปัจจัย มีอย่าง
เดียว คือ อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งรูปที่กรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ ฯลฯ กลิ่น ฯลฯ โผฏฐัพพะโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ
โทมนัสจึงเกิดขึ้น เมื่อชวนจิตที่เป็นกุศลและอกุศลดับแล้ว จิตตุปบาทที่เป็นวิบาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :271 }