เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 68. อุปาทินนทุกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่
อาวัชชนจิตเป็นปัจจัยแก่วิญญาณ 5 ฯลฯ ขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหา
และทิฏฐิไม่ยึดถือเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะโดยอนันตรปัจจัย
เป็นปัจจัยโดยสมนันตรปัจจัย
เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย มี 5 วาระ (เหมือนกับปฏิจจวาร)
เป็นปัจจัยโดยอัญญมัญญปัจจัย มี 2 วาระ (เหมือนกับปฏิจจวาร)
เป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย (เหมือนกับนิสสยปัจจัยในปัจจยวาร) มี 5 วาระ

อุปนิสสยปัจจัย
[451] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือเป็นปัจจัย
แก่สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือโดยอุปนิสสยปัจจัย
มี 2 อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ สุขทางกายเป็นปัจจัยแก่สุขทางกายและทุกข์ทางกาย
โดยอุปนิสสยปัจจัย ทุกข์ทางกาย ฯลฯ อุตุที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิยึดถือ ฯลฯ โภชนะเป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย และทุกข์ทางกายโดย
อุปนิสสยปัจจัย สุขทางกาย ฯลฯ ทุกข์ทางกาย ฯลฯ อุตุ ฯลฯ โภชนะเป็น
ปัจจัยแก่สุขทางกายและทุกข์ทางกายโดยอุปนิสสยปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ
อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยสุขทางกายแล้วให้ทาน ฯลฯ ทําลายสงฆ์
อาศัยทุกข์ทางกาย ฯลฯ อุตุที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ฯลฯ
โภชนะแล้วให้ทาน ฯลฯ ทําสมาบัติให้เกิดขึ้น ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทําลายสงฆ์ สุขทางกาย
ฯลฯ ทุกข์ทางกาย ฯลฯ อุตุ ฯลฯ โภชนะเป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ ความ
ปรารถนา มรรค และผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (2)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :269 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 68. อุปาทินนทุกะ 7. ปัญหาวาร
[452] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือเป็นปัจจัย
แก่สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือโดยอุปนิสสยปัจจัย
มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาแล้วให้ทาน มีมานะ ถือทิฏฐิ
อาศัยศีล ฯลฯ ความปรารถนา ฯลฯ อุตุ ฯลฯ โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะแล้วให้ทาน
ฯลฯ ทําลายสงฆ์ ศรัทธา ฯลฯ ความปรารถนา ฯลฯ อุตุฯลฯ โภชนะ ฯลฯ
เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ ความปรารถนา มรรคและผลสมาบัติโดย
อุปนิสสยปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือโดยอุปนิสสยปัจจัย
มี 2 อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาแล้วทําตนให้เดือดร้อน ให้ร้อนรน
เสวยทุกข์มีการแสวงหาเป็นมูล อาศัยศีล ฯลฯ ความปรารถนา ฯลฯ อุตุ ฯลฯ
โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะแล้วทําตนให้เดือดร้อน ให้ร้อนรน เสวยทุกข์มีการแสวง
หาเป็นมูล ฯลฯ ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่สุขทางกายและทุกข์
ทางกายโดยอุปนิสสยปัจจัย กรรมที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นปัจจัยแก่วิบากโดย
อุปนิสสยปัจจัย (2)

ปุเรชาตปัจจัย
[453] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือโดยปุเรชาตปัจจัย มี 2
อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ กายและรูปที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ... โผฏฐัพพะ และหทัยวัตถุโดยเป็นสภาวะไม่
เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น เมื่อชวนจิตที่เป็นกุศลและอกุศลดับแล้ว จิตตุปบาท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :270 }