เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 68. อุปาทินนทุกะ 7. ปัญหาวาร
เห็นแจ้งรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ ฯลฯ เสียง ฯลฯ
โผฏฐัพพะ และขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือโดยเป็น
สภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น เมื่อชวนจิตที่เป็นกุศลและอกุศลดับแล้ว
จิตตุปบาทที่เป็นวิบากจึงเกิดขึ้นโดยเป็นตทารมณ์ อากาสานัญจายตนกุศลเป็น
ปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนวิบาก ฯลฯ อากิญจัญญายตนกุศลเป็นปัจจัยแก่
เนวสัญญานาสัญญายตนวิบาก ฯลฯ รูปายตนะที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหา
และทิฏฐิไม่ยึดถือเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ สัททายตนะ ฯลฯ
โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยอารัมมณปัจจัย (2)

อธิปติปัจจัย
[448] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือเป็นปัจจัย
แก่สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือโดยอธิปติปัจจัย
มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ
กายและรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ... กลิ่น ... รส ...
โผฏฐัพพะ ... หทัยวัตถุและขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือให้
เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทําความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น (1)
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือโดยอธิปติปัจจัย มี 2
อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว
พิจารณากุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ยินดีเพลิดพลิน เพราะทําความ
ยินดีเพลิดเพลินกุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น
บุคคลพิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจากฌาน ฯลฯ พระอริยะ
ออกจากมรรคแล้วพิจารณามรรคให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณาผล ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :267 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 68. อุปาทินนทุกะ 7. ปัญหาวาร
พิจารณานิพพาน ฯลฯ นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน มรรค และผลโดย
อธิปติปัจจัย บุคคลยินดีเพลิดเพลินรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ
ฯลฯ เสียง ฯลฯ โผฏฐัพพะและขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่
ยึดถือให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่
ยึดถือเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (1)

อนันตรปัจจัย
[449] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือเป็นปัจจัย
แก่สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่
ขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์
ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย
ปัญจวิญญาณเป็นปัจจัยแก่มโนธาตุที่เป็นวิบากโดยอนันตรปัจจัย มโนธาตุที่เป็น
วิบากเป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบากโดยอนันตรปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่
ภวังคจิตเป็นปัจจัยแก่อาวัชชนจิต มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่มโน
วิญญาณธาตุที่เป็นกิริยาโดยอนันตรปัจจัย (2)
[450] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือเป็นปัจจัย
แก่สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่
ขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์
ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย ขันธ์
ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะโดยอนันตรปัจจัย
อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู ฯลฯ ผลสมาบัติโดยอนันตรปัจจัย (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :268 }