เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 68. อุปาทินนทุกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่กรรม
อันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิไม่ยึดถือโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึด
ถือเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย (3)
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือโดยเหตุปัจจัย ได้แก่
เหตุที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และ
จิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย (1)

อารัมมณปัจจัย
[446] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือเป็นปัจจัย
แก่สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่
บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ กายและรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ
... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... หทัยวัตถุ และขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาและทิฏฐิยึดถือโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น เมื่อชวนจิต
ที่เป็นกุศลและอกุศลดับแล้ว จิตตุปบาทที่เป็นวิบากจึงเกิดขึ้นโดยเป็นตทารมณ์
รูปายตนะที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ
คันธายตนะที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือเป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณ
ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยอารัมมณปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคล
เห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ กายและรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ... กลิ่น
... รส ... โผฏฐัพพะ ... หทัยวัตถุ และขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :265 }