เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 67. อุปาทาทุกะ 7. ปัญหาวาร
... เป็นปัจจัยโดยสมนันตรปัจจัย
... เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย (เหมือนกับปฏิจจวาร)
... เป็นปัจจัยโดยอัญญมัญญปัจจัย (เหมือนกับปฏิจจวาร)
... เป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย (เหมือนกับนิสสยปัจจัย ในปัจจยวาร)

อุปนิสสยปัจจัย
[398] สภาวธรรมที่เป็นอุปาทายรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็น
อุปาทายรูปโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยจักขุสมบัติ ฯลฯ กายสมบัติ วรรณสมบัติ
สัททสมบัติ คันธสมบัติ รสสมบัติ และโภชนะแล้วให้ทาน ฯลฯ ทำลายสงฆ์
จักขุสมบัติ ฯลฯ กายสมบัติ วรรณสมบัติ สัททสมบัติ คันธสมบัติ รสสมบัติ
และโภชนะเป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ ผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทายรูป
โดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาแล้วให้ทาน ฯลฯ ทำสมาบัติ
ให้เกิดขึ้น มีมานะ ถือทิฏฐิ อาศัยศีล ฯลฯ ปัญญา ... ราคะ ฯลฯ ความ
ปรารถนา ... สุขทางกาย ... ทุกข์ทางกาย ... อุตุ ... เสนาสนะแล้วให้ทาน ฯลฯ
ทำลายสงฆ์ ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ ผลสมาบัติโดย
อุปนิสสยปัจจัย (1)

ปุเรชาตปัจจัย
[399] สภาวธรรมที่เป็นอุปาทายรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็น
อุปาทายรูปโดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :234 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 67. อุปาทาทุกะ 7. ปัญหาวาร
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็น
สภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วย
ทิพพโสตธาตุ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ รสายตนะเป็นปัจจัยแก่
ชิวหาวิญญาณ ฯลฯ
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ
ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็นอุปาทายรูปโดยปุเรชาตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทายรูป
โดยปุเรชาตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้ง
โผฏฐัพพะโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น โผฏฐัพพายตนะเป็น
ปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยปุเรชาตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นอุปาทายรูปและที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่ไม่เป็นอุปาทายรูปโดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและ
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ โผฏฐัพพายตนะและกายายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ
โดยปุเรชาตปัจจัย โผฏฐัพพายตนะและหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็น
อุปาทายรูปโดยปุเรชาตปัจจัย (1)

ปัจฉาชาตปัจจัยและอาเสวนปัจจัย
[400] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็น
อุปาทายรูปโดยปัจฉาชาตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่
เป็นอุปาทายรูปเป็นปัจจัย แก่กายนี้ที่เกิดก่อนซึ่งไม่เป็นอุปาทายรูปโดยปัจฉาชาตปัจจัย
(พึงอ้างบทที่เป็นมูล)
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนซึ่ง
เป็นอุปาทายรูปโดยปัจฉาชาตปัจจัย (พึงอ้างบทที่เป็นมูล)
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนซึ่ง
เป็นอุปาทายรูปและที่ไม่เป็นอุปาทายรูปโดยปัจฉาชาตปัจจัย (3)
เป็นปัจจัยโดยอาเสวนปัจจัย มี 1 วาระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :235 }