เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 67. อุปาทาทุกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทายรูป
โดยอธิปติปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้วพิจารณา
กุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ยินดีเพลิดเพลิน เพราะทำความยินดี
เพลิดเพลินกุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น
บุคคลพิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้วฯลฯ ออกจากฌานแล้วพิจารณาฌาน ฯลฯ
พระอริยะออกจากมรรคแล้วพิจารณามรรคให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ
พิจารณาผล ฯลฯ พิจารณานิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น นิพพานเป็น
ปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน มรรค และผลโดยอธิปติปัจจัย บุคคลยินดีเพลิดเพลิน
โผฏฐัพพะ ขันธ์ที่ไม่เป็นอุปาทายรูปให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว เพราะทำ
ความยินดีเพลิดเพลินโผฏฐัพพะเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น
ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต-
ขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปโดยอธิปติปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอุปาทายรูป
โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่ไม่เป็น
อุปาทายรูปเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปที่เป็นอุปาทายรูปโดยอธิปติปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอุปาทายรูปและ
ที่ไม่เป็นอุปาทายรูปโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิบดีธรรมที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปที่
เป็นอุปาทายรูปและที่ไม่เป็นอุปาทายรูปโดยอธิปติปัจจัย (3)

อนันตรปัจจัยเป็นต้น
[397] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็น
อุปาทายรูปโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็นอุปาทายรูปซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็นอุปาทายรูปซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย อนุโลมเป็น
ปัจจัยแก่โคตรภู ฯลฯ ผลสมาบัติโดยอนันตรปัจจัย (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :233 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 67. อุปาทาทุกะ 7. ปัญหาวาร
... เป็นปัจจัยโดยสมนันตรปัจจัย
... เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย (เหมือนกับปฏิจจวาร)
... เป็นปัจจัยโดยอัญญมัญญปัจจัย (เหมือนกับปฏิจจวาร)
... เป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย (เหมือนกับนิสสยปัจจัย ในปัจจยวาร)

อุปนิสสยปัจจัย
[398] สภาวธรรมที่เป็นอุปาทายรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็น
อุปาทายรูปโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยจักขุสมบัติ ฯลฯ กายสมบัติ วรรณสมบัติ
สัททสมบัติ คันธสมบัติ รสสมบัติ และโภชนะแล้วให้ทาน ฯลฯ ทำลายสงฆ์
จักขุสมบัติ ฯลฯ กายสมบัติ วรรณสมบัติ สัททสมบัติ คันธสมบัติ รสสมบัติ
และโภชนะเป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ ผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทายรูป
โดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาแล้วให้ทาน ฯลฯ ทำสมาบัติ
ให้เกิดขึ้น มีมานะ ถือทิฏฐิ อาศัยศีล ฯลฯ ปัญญา ... ราคะ ฯลฯ ความ
ปรารถนา ... สุขทางกาย ... ทุกข์ทางกาย ... อุตุ ... เสนาสนะแล้วให้ทาน ฯลฯ
ทำลายสงฆ์ ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ ผลสมาบัติโดย
อุปนิสสยปัจจัย (1)

ปุเรชาตปัจจัย
[399] สภาวธรรมที่เป็นอุปาทายรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็น
อุปาทายรูปโดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :234 }