เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 66. อัชฌัตติกทุกะ 7. ปัญหาวาร
[362] สภาวธรรมที่เป็นภายในและที่เป็นภายนอกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่
เป็นภายในโดยอัตถิปัจจัย มี 5 อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ
และอินทรียะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณและจักขายตนะเป็นปัจจัยแก่
จักขุวิญญาณโดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ที่สหรคตด้วยกายวิญญาณ ฯลฯ ใน
ปฏิสนธิขณะ ขันธ์ที่เป็นภายในและที่เป็นภายนอกเป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปที่เป็น
ภายในโดยอัตถิปัจจัย
ปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะและหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่จิตโดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ
กายายตนะและหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่จิตโดยอัตถิปัจจัย รูปายตนะและจักขายตนะ
เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะและกายายตนะเป็นปัจจัยแก่
กายวิญญาณโดยอัตถิปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นภายในและที่เป็นภายนอกเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่
เกิดก่อนซึ่งเป็นภายในโดยอัตถิปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นภายในที่เป็นภายนอกและกวฬิงการาหารเป็น
ปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนซึ่งเป็นภายในโดยอัตถิปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นภายในที่เป็นภายนอกและรูปชีวิตินทรีย์เป็น
ปัจจัยแก่กฏัตตารูปที่เป็นภายในโดยอัตถิปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นภายในและที่เป็นภายนอกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น
ภายนอกโดยอัตถิปัจจัย มี 5 อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ
และอินทรียะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ จักขายตนะ และ
จักขุวิญญาณเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 2 โดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ (สหชาตะเหมือนกับ
ปัจจยวาร ไม่มีข้อแตกต่างกัน เหมือนกับข้อความตอนต้นนั่นเอง พึงจําแนกหมด
ทุกบทโดยนัยแห่งฆฏนาแรก) (2)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :209 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 66. อัชฌัตติกทุกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่เป็นภายในและที่เป็นภายนอกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น
ภายในและที่เป็นภายนอกโดยอัตถิปัจจัย มี 5 อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ
ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณและจักขายตนะเป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ 2 และจักขุวิญญาณโดยอัตถิปัจจัย (ย่อ พึงจําแนกหมดทุกบท
โดยนัยแห่งฆฏนาแรก) (3)
เป็นปัจจัยโดยนัตถิปัจจัย
เป็นปัจจัยโดยวิคตปัจจัย
เป็นปัจจัยโดยอวิคตปัจจัย

1. ปัจจยานุโลม 2. สังขยาวาร
สุทธนัย

[363] เหตุปัจจัย มี 3 วาระ
อารัมมณปัจจัย มี 9 วาระ
อธิปติปัจจัย มี 9 วาระ
อนันตรปัจจัย มี 9 วาระ
สมนันตรปัจจัย มี 9 วาระ
สหชาตปัจจัย มี 9 วาระ
อัญญมัญญปัจจัย มี 5 วาระ
นิสสยปัจจัย มี 9 วาระ
อุปนิสสยปัจจัย มี 9 วาระ
ปุเรชาตปัจจัย มี 9 วาระ
ปัจฉาชาตปัจจัย มี 9 วาระ
อาเสวนปัจจัย มี 9 วาระ
กัมมปัจจัย มี 3 วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :210 }