เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 63. จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานทุกะ 7. ปัญหาวาร
สหชาตะ ได้แก่ ในปฏิสนธิขณะ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ระคนกับจิต
และมีจิตเป็นสมุฏฐานโดยวิปปยุตตปัจจัย
ปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณโดย
วิปปยุตตปัจจัย ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ระคนกับ
จิตและมีจิตเป็นสมุฏฐานโดยวิปปยุตตปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่
ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและที่ไม่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานโดยวิปปยุตตปัจจัย
มี 2 อย่าง คือสหชาตะ และปุเรชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ในปฏิสนธิขณะ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่จิตและสัมปยุตตขันธ์
โดยวิปปยุตตปัจจัย
ปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณและสัมปยุตตขันธ์โดย
วิปปยุตตปัจจัย ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่จิตและสัมปยุตต-
ขันธ์โดยวิปปยุตตปัจจัย (3)
สภาวธรรมที่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและที่ไม่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐาน
เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐานโดยวิปปยุตตปัจจัย
มี 2 อย่าง คือสหชาตะ และปัจฉาชาตะ (ย่อ)

อัตถิปัจจัย
[307] สภาวธรรมที่ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐานโดยอัตถิปัจจัย (เหมือนกับปฏิจจวาร)
สภาวธรรมที่ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่
ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐานโดยอัตถิปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะ
และปัจฉาชาตะ (ย่อ)
สภาวธรรมที่ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่
ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและที่ไม่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานโดยอัตถิปัจจัย
(เหมือนกับปฏิจจวาร) (3)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :172 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 63. จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานทุกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่ไม่ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่
ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐานโดยอัตถิปัจจัย มี 5 อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ
ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ (ปัจจัยนี้เหมือนกับปุเรชาตปัจจัย พึงเพิ่ม
ปุเรชาตปัจจัยที่ย่อไว้ทั้งหมด พึงขยายให้พิสดาร) (1)
สภาวธรรมที่ไม่ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่
ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐานโดยอัตถิปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะ
และปุเรชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ จิตเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยอัตถิปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ
จิตเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยอัตถิปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ หทัยวัตถุเป็นปัจจัย
แก่ขันธ์ที่ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐานโดยอัตถิปัจจัย
ปุเรชาตะ (ปัจจัยนี้เหมือนกับปุเรชาตปัจจัย ไม่มีข้อแตกต่างกัน) (2)
สภาวธรรมที่ไม่ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่
ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐาน และที่ไม่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานโดยอัตถิปัจจัย
มี 2 อย่าง คือ สหชาตะ และปุเรชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ จิตเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิ-
ปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ จิตเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และกฏัตตารูปโดยอัตถิปัจจัย
ในปฏิสนธิขณะ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่จิตและสัมปยุตตขันธ์โดยอัตถิปัจจัย
ปุเรชาตะ (ปัจจัยนี้เหมือนกับปุเรชาตปัจจัย) (3)
[308] สภาวธรรมที่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและที่ไม่ระคนกับจิตมีจิต
เป็นสมุฏฐาน เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐานโดย
อัตถิปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะ และปุเรชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ และจักขุวิญญาณเป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ 2 ฯลฯ ขันธ์ 2 ฯลฯ ขันธ์ 1 ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ
และจักขายตนะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 2 ฯลฯ ที่สหรคตด้วยกายวิญญาณ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :173 }