เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 55. สารัมมณทุกะ 7. ปัญหาวาร
ผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ บุคคลยินดีเพลิดเพลินขันธ์ที่รับรู้อารมณ์
ได้ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทําความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้นให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น ฯลฯ
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
โดยอธิปติปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้โดย
อธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้
เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้และที่รับรู้
อารมณ์ไม่ได้โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรม
ที่รับรู้อารมณ์ได้เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (3)
[31] สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้
โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระอริยะพิจารณา
นิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน มรรค
และผลโดยอธิปติปัจจัย บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทําความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น ฯลฯ (1)

อนันตรปัจจัยเป็นต้น
[32] สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้
โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ... ที่รับรู้อารมณ์ได้ซึ่งเกิดก่อน ๆ ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่
ผลสมาบัติโดยอนันตรปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสมนันตรปัจจัย มี 1 วาระ เป็นปัจจัย
โดยสหชาตปัจจัย มี 7 วาระ (ปัจจัยเหล่านี้เหมือนกับสหชาตปัจจัยในปฏิจจวาร)
เป็นปัจจัยโดยอัญญมัญญปัจจัย มี 6 วาระ (ปัจจัยเหล่านี้เหมือนกับอัญญมัญญ-
ปัจจัยในปฏิจจวาร) เป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย มี 7 วาระ (ปัจจัยนี้เหมือนกับ
นิสสยปัจจัยในปัจจยวาร)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :16 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 55. สารัมมณทุกะ 7. ปัญหาวาร
อุปนิสสยปัจจัย
[33] สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้
โดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะและ
ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาแล้วให้ทาน ฯลฯ มีมานะ ถือทิฏฐิ
อาศัยศีล ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา ฯลฯ สุขทางกาย ฯลฯ
ทุกข์ทางกายแล้วให้ทาน ฯลฯ ทําสมาบัติให้เกิดขึ้น ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทําลายสงฆ์
ศรัทธา ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา ฯลฯ สุขทางกาย ฯลฯ
ทุกข์ทางกายเป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา
ฯลฯ สุขทางกาย ฯลฯ ทุกข์ทางกาย ฯลฯ มรรคและผลสมาบัติโดย
อุปนิสสยปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้โดย
อุปนิสสยปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยอุตุ ฯลฯ โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะแล้วให้
ทาน ฯลฯ ทําสมาบัติให้เกิดขึ้น ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทําลายสงฆ์ อุตุ ฯลฯ โภชนะ ฯลฯ
เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ ความปรารถนา ฯลฯ สุขทางกาย ฯลฯ
ทุกข์ทางกาย ฯลฯ มรรคและผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (1)

ปุเรชาตปัจจัย
[34] สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้
โดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็น
สภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วย
ทิพพโสตธาตุ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็น
ปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :17 }