เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 61. จิตตสหภูทุกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่ไม่เกิดพร้อมกับจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เกิดพร้อมกับจิต
และที่ไม่เกิดพร้อมกับจิตโดยวิปปยุตตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ จิตเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปที่เกิดพร้อมกับจิตและที่ไม่
เกิดพร้อมกับจิตโดยวิปปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณและสัมปยุตตขันธ์
โดยวิปปยุตตปัจจัย ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่จิตและ
สัมปยุตตขันธ์โดยวิปปยุตตปัจจัย (3)
[267] สภาวธรรมที่เกิดพร้อมกับจิตและที่ไม่เกิดพร้อมกับจิตเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่เกิดพร้อมกับจิตโดยวิปปยุตตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตะ
ได้แก่ ขันธ์ที่เกิดพร้อมกับจิตและจิตเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปที่เกิดพร้อมกับ
จิตโดยวิปปยุตตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เกิดพร้อมกับจิตและที่ไม่เกิดพร้อมกับจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่ไม่เกิดพร้อมกับจิตโดยวิปปยุตตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เกิดพร้อมกับจิตที่ไม่เกิดพร้อมกับจิตและจิตเป็นปัจจัย
แก่จิตตสมุฏฐานรูปที่ไม่เกิดพร้อมกับจิตโดยวิปปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เกิดพร้อมกับจิตที่ไม่เกิดพร้อมกับจิตและจิตเป็น
ปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนซึ่งไม่เกิดพร้อมกับจิตโดยวิปปยุตตปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เกิดพร้อมกับจิตและที่ไม่เกิดพร้อมกับจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เกิดพร้อมกับจิตและที่ไม่เกิดพร้อมกับจิตโดยวิปปยุตตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่
เกิดพร้อมกับจิตที่ไม่เกิดพร้อมกับจิตและจิตเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปที่เกิดพร้อม
กับจิตและที่ไม่เกิดพร้อมกับจิตโดยวิปปยุตตปัจจัย (3)

อัตถิปัจจัย
[268] สภาวธรรมที่เกิดพร้อมกับจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เกิดพร้อมกับจิต
โดยอัตถิปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่เกิดพร้อมกับจิต ฯลฯ (เหมือนกับปฏิจจวาร) (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :150 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 61. จิตตสหภูทุกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่เกิดพร้อมกับจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เกิดพร้อมกับจิต
โดยอัตถิปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ (ย่อ) (2)
สภาวธรรมที่เกิดพร้อมกับจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เกิดพร้อมกับจิตและที่
ไม่เกิดพร้อมกับจิตโดยอัตถิปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่เกิดพร้อมกับจิต ฯลฯ
(เหมือนกับปฏิจจวาร) (3)
สภาวธรรมที่ไม่เกิดพร้อมกับจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เกิดพร้อมกับจิต
โดยอัตถิปัจจัย มี 5 อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ
และอินทรียะ (ย่อ) (1)
สภาวธรรมที่ไม่เกิดพร้อมกับจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เกิดพร้อมกับจิต
โดยอัตถิปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ (ย่อ) (2)
สภาวธรรมที่ไม่เกิดพร้อมกับจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เกิดพร้อมกับจิต
และที่ไม่เกิดพร้อมกับจิตโดยอัตถิปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ
(ย่อ) (3)
[269] สภาวธรรมที่เกิดพร้อมกับจิตและที่ไม่เกิดพร้อมกับจิตเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่เกิดพร้อมกับจิตโดยอัตถิปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ จักขายตนะและ
จักขุวิญญาณเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 2 ฯลฯ ขันธ์ 2 ฯลฯ (ในปฏิสนธิขณะ
พึงเพิ่มทั้งหมด คือทั้งสหชาตะและปุเรชาตะ) (1)
สภาวธรรมที่เกิดพร้อมกับจิตและที่ไม่เกิดพร้อมกับจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่ไม่เกิดพร้อมกับจิตโดยอัตถิปัจจัย มี 5 อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ
อาหาระ และ อินทรียะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณและจักขายตนะเป็นปัจจัยแก่
จักขุวิญญาณโดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ที่สหรคตด้วยกายวิญญาณ ฯลฯ ขันธ์ที่
เกิดพร้อมกับจิตและจิตเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปที่ไม่เกิดพร้อมกับจิตโดยอัตถิปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :151 }