เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 55. สารัมมณทุกะ 7. ปัญหาวาร
พระอริยะพิจารณาโคตรภูและโวทาน พระอริยะออกจากมรรคแล้วพิจารณามรรค
พิจารณาผล พิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว ฯลฯ พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว ฯลฯ
รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น บุคคลเห็นแจ้งขันธ์ที่รับรู้อารมณ์ได้โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ
โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่รับรู้อารมณ์ได้
ด้วยเจโตปริยญาณ อากาสานัญจายตนะเป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ ฯลฯ
อากิญจัญญายตนะเป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ ฯลฯ ขันธ์ที่รับรู้
อารมณ์ได้เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (1)
[29] สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้
โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ พระอริยะพิจารณานิพพาน นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู
โวทาน มรรค ผล และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ
หทัยวัตถุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพ-
จักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ
โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ ขันธ์ที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้เป็นปัจจัย
แก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ
อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (1)

อธิปติปัจจัย
[30] สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้
โดยอธิปติปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้วพิจารณา
กุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ยินดีเพลิดเพลิน เพราะทําความยินดีเพลิดเพลิน
กุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น ฯลฯ บุคคล
พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจากฌานแล้วพิจารณาฌาน ฯลฯ
พระอริยะออกจากมรรคแล้วพิจารณามรรคให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :15 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 55. สารัมมณทุกะ 7. ปัญหาวาร
ผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ บุคคลยินดีเพลิดเพลินขันธ์ที่รับรู้อารมณ์
ได้ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทําความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้นให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น ฯลฯ
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
โดยอธิปติปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้โดย
อธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้
เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้และที่รับรู้
อารมณ์ไม่ได้โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรม
ที่รับรู้อารมณ์ได้เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (3)
[31] สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้
โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระอริยะพิจารณา
นิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน มรรค
และผลโดยอธิปติปัจจัย บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทําความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น ฯลฯ (1)

อนันตรปัจจัยเป็นต้น
[32] สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้
โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ... ที่รับรู้อารมณ์ได้ซึ่งเกิดก่อน ๆ ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่
ผลสมาบัติโดยอนันตรปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสมนันตรปัจจัย มี 1 วาระ เป็นปัจจัย
โดยสหชาตปัจจัย มี 7 วาระ (ปัจจัยเหล่านี้เหมือนกับสหชาตปัจจัยในปฏิจจวาร)
เป็นปัจจัยโดยอัญญมัญญปัจจัย มี 6 วาระ (ปัจจัยเหล่านี้เหมือนกับอัญญมัญญ-
ปัจจัยในปฏิจจวาร) เป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย มี 7 วาระ (ปัจจัยนี้เหมือนกับ
นิสสยปัจจัยในปัจจยวาร)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :16 }