เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 60. จิตตสมุฏฐานทุกะ 7. ปัญหาวาร
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็น
สภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วย
ทิพพโสตธาตุ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ ฯลฯ
โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ
ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดยปุเรชาต-
ปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
และที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะ
และวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็น
สภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น จิตและ
สัมปยุตตขันธ์จึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ
รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณและสัมปยุตตขันธ์ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณและสัมปยุตตขันธ์
ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่จิตและสัมปยุตตขันธ์โดยปุเรชาต-
ปัจจัย (3)
[219] สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานและที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัย
แก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณ-
ปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ รูปายตนะที่มีจิตเป็นสมุฏฐานและจักขายตนะ
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะที่มีจิตเป็น
สมุฏฐานและกายายตนะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยกายวิญญาณโดยปุเรชาตปัจจัย
รูปายตนะที่มีจิตเป็นสมุฏฐานและหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดย
ปุเรชาตปัจจัย ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะที่มีจิตเป็นสมุฏฐานและหทัยวัตถุ ฯลฯ (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :124 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 60. จิตตสมุฏฐานทุกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานและที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณ-
ปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ รูปายตนะที่มีจิตเป็นสมุฏฐานและจักขายตนะ
เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะที่มีจิตเป็นสมุฏฐานและกายายตนะ
เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยปุเรชาตปัจจัย รูปายตนะที่มีจิตเป็นสมุฏฐานและ
หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่จิตโดยปุเรชาตปัจจัย ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะที่มีจิตเป็น
สมุฏฐานและหทัยวัตถุ ฯลฯ (2)
สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานและที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานและที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดยปุเรชาตปัจจัย มี 2
อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะ และวัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ รูปายตนะที่มีจิตเป็น
สมุฏฐาน และจักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ และสัมปยุตตขันธ์โดย
ปุเรชาตปัจจัย ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ฯลฯ รูปายตนะที่มีจิต
เป็นสมุฏฐานและหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่จิตและสัมปยุตตขันธ์โดยปุเรชาตปัจจัย ฯลฯ
โผฏฐัพพายตนะที่มีจิตเป็นสมุฏฐานและหทัยวัตถุ ฯลฯ (3)

ปัจฉาชาตปัจจัยและอาเสวนปัจจัย
[220] สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็น
สมุฏฐานโดยปัจฉาชาตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่มีจิต
เป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนซึ่งมีจิตเป็นสมุฏฐานโดยปัจฉาชาตปัจจัย
(พึงขยายปัจฉาชาตปัจจัยให้พิสดารโดยอาการนี้นั่นเอง) เป็นปัจจัยโดยอาเสวนปัจจัย
มี 9 วาระ

กัมมปัจจัยและวิปากปัจจัย
[221] สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็น
สมุฏฐานโดยกัมมปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :125 }