เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 60. จิตตสมุฏฐานทุกะ 7. ปัญหาวาร
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต-
ขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (มี 3 วาระ พึงเพิ่มทั้งอารัมมณาธิปติ
และสหชาตาธิปติ) (3)
สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็น
สมุฏฐานโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระอริยะ
ออกจากมรรค ฯลฯ พิจารณานิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ บุคคล
ยินดีเพลิดเพลินขันธ์ที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทํา
ความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น จิตจึงเกิดขึ้น (1)
สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
โดยอธิปติปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ และสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระอริยะออกจากมรรค ฯลฯ พิจารณานิพพานให้
เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ บุคคลยินดีเพลิดเพลินขันธ์ที่ไม่มีจิตเป็น
สมุฏฐานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทําความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้นให้
เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่
สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
และที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ
ได้แก่ พระอริยะออกจากมรรค ฯลฯ พิจารณานิพพานให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น ฯลฯ บุคคลยินดีเพลิดเพลินขันธ์ที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น ฯลฯ จิตและสัมปยุตตขันธ์จึงเกิดขึ้น (3)
สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานและที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ
มี 3 วาระ (มีเฉพาะอารัมมณาธิปติ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :120 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 60. จิตตสมุฏฐานทุกะ 7. ปัญหาวาร
อนันตรปัจจัยและสมนันตรปัจจัย
[214] สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็น
สมุฏฐานโดยอนันตรปัจจัย มี 3 วาระ (ไม่มีวุฏฐานะ)
สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็น
สมุฏฐานโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ จิตที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่จิตที่เกิดหลัง ๆ
ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตนะของท่านผู้ออกจากนิโรธเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ
โดยอนันตรปัจจัย (พึงทําการนับทั้ง 2 อย่างนอกนี้ ให้เหมือนกับปัจจัยนี้นั่นเอง)
สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานและที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดยอนันตรปัจจัย (พึงเพิ่มเป็น 3 วาระ ไม่มีวุฏฐานะ) เป็นปัจจัย
โดยสมนันตรปัจจัย

สหชาตปัจจัยเป็นต้น
[215] สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็น
สมุฏฐานโดยสหชาตปัจจัย (เหมือนกับปฏิจจวาร) เป็นปัจจัยโดยอัญญมัญญปัจจัย
(เหมือนกับปฏิจจวาร) เป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย (เหมือนกับปัจจยวาร)

อุปนิสสยปัจจัย
[216] สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็น
สมุฏฐานโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ
และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ (พึงทําเป็น 3 วาระ) (3)
สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
โดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :121 }