เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 60. จิตตสมุฏฐานทุกะ 7. ปัญหาวาร

เหตุปัจจัย มี 5 วาระ
อารัมมณปัจจัย มี 5 วาระ

(ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ 5 วาระ)

อวิคตปัจจัย มี 5 วาระ

สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเกิดระคนกับสภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
เพราะนเหตุปัจจัย (พึงเพิ่มเป็น 5 วาระ 3 วาระ มีโมหะ)

นเหตุปัจจัย มี 5 วาระ
นอธิปติปัจจัย มี 5 วาระ
นปุเรชาตปัจจัย มี 5 วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย มี 5 วาระ
นอาเสวนปัจจัย มี 5 วาระ
นกัมมปัจจัย มี 3 วาระ
นวิปากปัจจัย มี 5 วาระ
นฌานปัจจัย มี 5 วาระ
นมัคคปัจจัย มี 5 วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย มี 5 วาระ

(การนับ 2 อย่างนอกนี้และสัมปยุตตวาร พึงทําอย่างนี้)

60. จิตตสมุฏฐานทุกะ 7. ปัญหาวาร
1. ปัจจยานุโลม 1. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[210] สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็น
สมุฏฐานโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
และจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :117 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 60. จิตตสมุฏฐานทุกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
โดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่จิตโดยเหตุปัจจัย
ในปฏิสนธิขณะ เหตุที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่จิต และกฏัตตารูปโดย
เหตุปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
และที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัย
แก่สัมปยุตตขันธ์ จิต และจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (3)

อารัมมณปัจจัย
[211] สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็น
สมุฏฐานโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภขันธ์ที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ขันธ์ที่
มีจิตเป็นสมุฏฐานจึงเกิดขึ้น (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) เพราะปรารภขันธ์ที่มีจิตเป็น
สมุฏฐาน จิตจึงเกิดขึ้น (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) เพราะปรารภขันธ์ที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
ขันธ์ที่มีจิตเป็นสมุฏฐานและจิตจึงเกิดขึ้น (3)
[212] สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีจิต
เป็นสมุฏฐานโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ พระอริยะออกจากมรรคแล้วพิจารณามรรค
พิจารณาผล พิจารณานิพพาน นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน มรรค ผล
และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุและขันธ์
ที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภ
ความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น จิตจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ
ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่ไม่มีจิตเป็น
สมุฏฐานด้วยเจโตปริยญาณ อากาสานัญจายตนะ ฯลฯ อากิญจัญญายตนะ ฯลฯ
รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ขันธ์ที่ไม่มีจิต
เป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณและ อาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :118 }