เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 6.นเหตุสเหตุกทุกะ 7.ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุและ
ไม่มีเหตุโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย อาวัชชนจิต
เป็นปัจจัยแก่วิญญาณ 5 โดยอนันตรปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุแต่มี
เหตุโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ จุติจิตที่ไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่อุปปัตติจิต
ที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุโดยอนันตรปัจจัย อาวัชชนจิตเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็นเหตุ
แต่มีเหตุโดยอนันตรปัจจัย ขันธ์ที่ไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่ไม่
เป็นเหตุแต่มีเหตุโดยอนันตรปัจจัย (2)

สมนันตรปัจจัยเป็นต้น
[180] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุ
แต่มีเหตุโดยสมนันตรปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย (ในปัจจัยนี้ไม่มีฆฏนา มี
7 วาระ) เป็นปัจจัยโดยอัญญมัญญปัจจัย มี 6 วาระ เป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย
(ปวัตติกาลและปฏิสนธิกาล มี 7 วาระ ในปัจจัยนี้ไม่มีฆฏนา)

อุปนิสสยปัจจัย
[181] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุ
แต่มีเหตุโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ
และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาแล้วให้ทาน ฯลฯ มีมานะ ถือทิฏฐิ
อาศัยศีล ฯลฯ ความปรารถนาแล้วให้ทาน ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ศรัทธา ฯลฯ
ความปรารถนาเป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ ความปรารถนา มรรค และผลสมาบัติ
โดยอุปนิสสยปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุและไม่มี
เหตุโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :98 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 6.นเหตุสเหตุกทุกะ 7.ปัญหาวาร
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ ศรัทธาเป็นปัจจัยแก่สุขทางกายและทุกข์ทางกายโดย
อุปนิสสยปัจจัย ศีล ฯลฯ ความปรารถนาเป็นปัจจัยแก่สุขทางกายและทุกข์ทางกาย
โดยอุปนิสสยปัจจัย ศรัทธา ฯลฯ ความปรารถนาเป็นปัจจัยแก่สุขทางกายและทุกข์
ทางกายโดยอุปนิสสยปัจจัย (2)
[182] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็น
เหตุและไม่มีเหตุโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะและปกตูป-
นิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ สุขทางกายเป็นปัจจัยแก่สุขทางกายและทุกข์ทางกาย
โดยอุปนิสสยปัจจัย ทุกข์ทางกาย ฯลฯ อุตุ ฯลฯ โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะเป็น
ปัจจัยแก่สุขทางกายและทุกข์ทางกายโดยอุปนิสสยปัจจัย สุขทางกาย ฯลฯ ทุกข์
ทางกาย ฯลฯ อุตุ ฯลฯ โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย
และทุกข์ทางกายโดยอุปนิสสยปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุแต่มี
เหตุโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ
และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยสุขทางกายแล้วให้ทาน ฯลฯ ทำลายสงฆ์
อาศัยทุกข์ทางกาย ฯลฯ อุตุ ฯลฯ โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะแล้ว ให้ทาน ฯลฯ
ทำลายสงฆ์ สุขทางกาย ฯลฯ เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ ความปรารถนา
ฯลฯ มรรคและผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (2)

ปุเรชาตปัจจัย
[183] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุ
และไม่มีเหตุโดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็นสภาวะ
ไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น เมื่อกุศลและอกุศลดับแล้ว จิตตุปบาทที่เป็นวิบาก
ซึ่งไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุจึงเกิดขึ้นโดยเป็นตทารมณ์ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุ-
วิญญาณโดยปุเรชาตปัจจัย ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณโดย
ปุเรชาตปัจจัย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :99 }