เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 2.สเหตุกทุกะ 7.ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุโดยวิปากปัจจัย ได้แก่
ขันธ์ 1 ที่เป็นวิบากซึ่งไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 และจิตตสมุฏฐานรูป ฯลฯ
ขันธ์ 2 ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ ขันธ์เป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุโดยวิปากปัจจัย (1)

อาหารปัจจัย
[113] สภาวธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุโดยอาหารปัจจัย
มี 3 วาระ
สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุโดยอาหารปัจจัย ได้แก่
อาหารที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอาหารปัจจัย
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ กวฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่กายนี้โดยอาหารปัจจัย (1)

อินทรียปัจจัยเป็นต้น
[114] สภาวธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุโดยอินทรียปัจจัย
มี 3 วาระ
สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุโดยอินทรียปัจจัย ได้แก่
อินทรีย์ที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอินทรียปัจจัย
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ จักขุนทรีย์เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายินทรีย์เป็น
ปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยอินทรียปัจจัย รูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดย
อินทรียปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุโดยฌานปัจจัย มี 3
วาระ
สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุโดยฌานปัจจัย ได้แก่
องค์ฌานที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยฌานปัจจัย
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (1)
สภาวธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุโดยมัคคปัจจัย มี 3 วาระ
สภาวธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุโดยสัมปยุตตปัจจัย (ใน
ปฏิจจวาร มี 6 วาระ เหมือนกับสัมปยุตตปัจจัย)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :62 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 2.สเหตุกทุกะ 7.ปัญหาวาร
วิปปยุตตปัจจัย
[115] สภาวธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุโดยวิปปยุตตปัจจัย
มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยวิปปยุตตปัจจัย
ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดยวิปปยุตตปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยวิปปยุตต-
ปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุโดยวิปปยุตตปัจจัย มี
3 อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ และปัจฉาชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยวิปปยุตต-
ปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดยวิปปยุตตปัจจัย
ขันธ์เป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุโดยวิปปยุตตปัจจัย หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์โดย
วิปปยุตตปัจจัย
ปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ
เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่มีเหตุและโมหะโดย
วิปปยุตตปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่มีเหตุและโมหะเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดย
วิปปยุตตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุโดยวิปปยุตตปัจจัย มี
2 อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ในปฏิสนธิขณะ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีเหตุโดย
วิปปยุตตปัจจัย
ปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีเหตุโดยวิปปยุตตปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุและที่ไม่มีเหตุโดยวิปปยุตต-
ปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์และโมหะ
ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะโดยวิปปยุตตปัจจัย (3)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :63 }