เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 2.สเหตุกทุกะ 7.ปัญหาวาร
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ สุขทางกายเป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย
และโมหะโดยอุปนิสสยปัจจัย ทุกข์ทางกาย ... อุตุ ... โภชนะ ... เสนาสนะ
เป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย และโมหะโดยอุปนิสสยปัจจัย โมหะเป็น
ปัจจัยแก่สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย และโมหะโดยอุปนิสสยปัจจัย สุขทางกาย ...
ทุกข์ทางกาย ... อุตุ ... โภชนะ ... เสนาสนะ และโมหะเป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย
ทุกข์ทางกาย และโมหะโดยอุปนิสสยปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3
อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยสุขทางกายแล้ว ให้ทาน ฯลฯ ทำลายสงฆ์
อาศัยทุกข์ทางกาย ... อุตุ ... โภชนะ ... เสนาสนะ ... โมหะแล้วให้ทาน ฯลฯ
ทำลายสงฆ์ สุขทางกาย ฯลฯ โมหะเป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ ปัญญา ... ราคะ
ฯลฯ ความปรารถนา ... มรรค และผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุและที่ไม่มีเหตุโดยอุป-
นิสสยปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ สุขทางกายและโมหะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์และโมหะที่
สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะโดยอุปนิสสยปัจจัย (3)
[108] สภาวธรรมที่มีเหตุและที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุโดย
อุปนิสสยปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ ขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วย
อุทธัจจะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีเหตุโดยอุปนิสสยปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่มีเหตุและที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุโดยอุป-
นิสสยปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ ขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วย
อุทธัจจะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์และโมหะที่ไม่มีเหตุโดยอุปนิสสยปัจจัย (2)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :58 }