เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 2.สเหตุกทุกะ 7.ปัญหาวาร
[100] สภาวธรรมที่มีเหตุและที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุโดย
อารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา และที่
สหรคตด้วยอุทธัจจะ ขันธ์ที่มีเหตุจึงเกิดขึ้น (1)
สภาวธรรมที่มีเหตุและที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุโดยอารัมมณ-
ปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วย
อุทธัจจะ ขันธ์และโมหะที่ไม่มีเหตุจึงเกิดขึ้น (2)
สภาวธรรมที่มีเหตุและที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุและที่ไม่มี
เหตุโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา
และที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ ขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วย
อุทธัจจะจึงเกิดขึ้น (3)

อธิปติปัจจัย
[101] สภาวธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุโดยอธิปติปัจจัย มี
2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว
พิจารณากุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ออกจากฌาน ... พระอริยะออก
จากมรรคแล้ว พิจารณามรรคให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ... พิจารณาผล ...
ยินดีเพลิดเพลินขันธ์ที่มีเหตุให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดี
เพลิดเพลินขันธ์นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดย
อธิปติปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุโดยอธิปติปัจจัย มีอย่าง
เดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป
โดยอธิปติปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุและที่ไม่มีเหตุโดยอธิปติปัจจัย
มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต-
ขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (3)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :54 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 2.สเหตุกทุกะ 7.ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุโดยอธิปติปัจจัย มี
อย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระอริยะพิจารณานิพพานให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน มรรค และผลโดย
อธิปติปัจจัย บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ที่ไม่มีเหตุ
ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้นให้
เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น (1)

อนันตรปัจจัย
[102] สภาวธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุโดยอนันตรปัจจัย
ได้แก่ ขันธ์ที่มีเหตุซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีเหตุซึ่งเกิดหลัง ๆ โดย
อนันตรปัจจัย อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู ฯลฯ อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โวทาน
ฯลฯ โคตรภูเป็นปัจจัยแก่มรรค ฯลฯ โวทานเป็นปัจจัยแก่มรรค ฯลฯ มรรค
เป็นปัจจัยแก่ผล ฯลฯ ผลเป็นปัจจัยแก่ผล ฯลฯ อนุโลมเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ
ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตนะของท่านผู้ออกจากนิโรธเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ
โดยอนันตรปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่
ขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่โมหะ
ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย
จุติจิตที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่อุปปัตติจิตที่ไม่มีเหตุโดยอนันตรปัจจัย ภวังคจิตที่มีเหตุ
เป็นปัจจัยแก่อาวัชชนจิตโดยอนันตรปัจจัย ภวังคจิตที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่ภวังคจิต
ที่ไม่มีเหตุโดยอนันตรปัจจัย ขันธ์ที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่ไม่มีเหตุโดย
อนันตรปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุและที่ไม่มีเหตุโดยอนันตร-
ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะซึ่งเกิดก่อน ๆ
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะซึ่ง
เกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย (3)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :55 }