เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 2.สเหตุกทุกะ 7.ปัญหาวาร
4. ปัจจยปัจจนียานุโลม
นเหตุทุกนัย

[95] อารัมมณปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี 2 วาระ
อนันตรปัจจัย ” มี 2 วาระ ฯลฯ
กัมมปัจจัย ” มี 2 วาระ
วิปากปัจจัย ” มี 1 วาระ
อาหารปัจจัย ” มี 2 วาระ ฯลฯ
มัคคปัจจัย ” มี 1 วาระ ฯลฯ
อวิคตปัจจัย ” มี 2 วาระ (พึงนับอย่างนี้)

ปัจจนียานุโลม จบ
(สัมปยุตตวารเหมือนกับสังสัฏฐวาร)

2. สเหตุกทุกะ 7. ปัญหาวาร
1. ปัจจยานุโลม 1. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[96] สภาวธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุโดยเหตุปัจจัย ได้แก่
เหตุที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (1)
สภาวธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุ
ที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (2)
สภาวธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุและที่ไม่มีเหตุโดยเหตุปัจจัย
ได้แก่ เหตุที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย ใน
ปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (3)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :51 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 2.สเหตุกทุกะ 7.ปัญหาวาร
[97] สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุโดยเหตุปัจจัย
ได้แก่ โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะเป็นปัจจัยแก่จิตต-
สมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุโดยเหตุปัจจัย ได้แก่
โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
โดยเหตุปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุและที่ไม่มีเหตุโดยเหตุปัจจัย
ได้แก่ โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต-
ขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย (3)

อารัมมณปัจจัย
[98] สภาวธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุโดยอารัมมณปัจจัย
ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว พิจารณากุศลนั้น พิจารณา
กุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ออกจากฌานแล้ว พิจารณาฌาน พระอริยะออกจาก
มรรคแล้ว พิจารณามรรค พิจารณาผล พิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว ฯลฯ พิจารณา
กิเลสที่ข่มได้แล้ว ฯลฯ รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น ฯลฯ เห็นแจ้งขันธ์ที่มีเหตุโดยเป็น
สภาวะไม่เที่ยง ... โทมนัสจึงเกิดขึ้น เมื่อกุศลและอกุศลดับแล้ว จิตตุปบาทที่เป็น
วิบากซึ่งมีเหตุจึงเกิดขึ้นโดยเป็นตทารมณ์ รู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วย
จิตที่มีเหตุด้วยเจโตปริยญาณ อากาสานัญจายตนะเป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ
ฯลฯ อากิญจัญญายตนะเป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ ฯลฯ ขันธ์ที่มีเหตุ
เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปค-
ญาณ และอนาคตังสญาณโดยอารัมมณปัจจัย เพราะปรารภขันธ์ที่มีเหตุ ขันธ์ที่มี
เหตุจึงเกิดขึ้น (1)
สภาวธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่
บุคคลเห็นแจ้งขันธ์ที่มีเหตุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น เมื่อกุศล
และอกุศลดับแล้ว จิตตุปบาทที่เป็นวิบากซึ่งไม่มีเหตุจึงเกิดขึ้นโดยเป็นตทารมณ์
เพราะปรารภขันธ์ที่มีเหตุ ขันธ์ที่ไม่มีเหตุและโมหะจึงเกิดขึ้น (2)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :52 }