เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 53.ปรามาสปรามัฏฐทุกะ 7.ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของปรามาสแต่ไม่เป็นปรามาสอาศัยสภาวธรรมที่เป็น
ปรามาสเป็นอารมณ์ของปรามาสและที่เป็นอารมณ์ของปรามาสแต่ไม่เป็นปรามาส
เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ 1 ที่เป็น
อารมณ์ของปรามาสแต่ไม่เป็นปรามาสและอาศัยปรามาสเกิดขึ้น ฯลฯ อาศัย
ขันธ์ 2 ฯลฯ (ย่อ)
(วาระทั้งหมดพึงทำเหมือนปรามาสทุกะ ไม่มีข้อแตกต่างกัน)

53. ปรามาสปรามัฏฐทุกะ 7. ปัญหาวาร
1. ปัจจยานุโลม 1. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[87] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของปรามาสแต่ไม่เป็นปรามาสเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของปรามาสแต่ไม่เป็นปรามาสโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุ
ที่เป็นอารมณ์ของปรามาสแต่ไม่เป็นปรามาสเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตต-
สมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (1)
สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของปรามาสแต่ไม่เป็นปรามาสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เป็นปรามาสและเป็นอารมณ์ของปรามาสโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่เป็นอารมณ์
ของปรามาสแต่ไม่เป็นปรามาสเป็นปัจจัยแก่ปรามาสโดยเหตุปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของปรามาสแต่ไม่เป็นปรามาสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เป็นปรามาสเป็นอารมณ์ของปรามาสและที่เป็นอารมณ์ของปรามาสแต่ไม่เป็น
ปรามาสโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่เป็นอารมณ์ของปรามาสแต่ไม่เป็นปรามาสเป็น
ปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ ปรามาส และจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย (3)

อารัมมณปัจจัย
[88] สภาวธรรมที่เป็นปรามาสและเป็นอารมณ์ของปรามาสเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่เป็นปรามาสและเป็นอารมณ์ของปรามาสโดยอารัมมณปัจจัย มี 3 วาระ
(พึงเพิ่มคำว่า เพราะปรารภ เหมือนกับปรามาสทุกะ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :480 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 53.ปรามาสปรามัฏฐทุกะ 7.ปัญหาวาร
[89] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของปรามาสแต่ไม่เป็นปรามาสเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของปรามาสแต่ไม่เป็นปรามาสโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่
บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้วพิจารณากุศลนั้น ยินดีเพลิดเพลิน
เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินกุศลนั้น ราคะ ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ อุทธัจจะ
ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลพิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจาก
ฌาน ฯลฯ พระอริยะพิจารณาโคตรภู พิจารณาโวทาน พิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว
พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ
และขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของปรามาสแต่ไม่เป็นปรามาสโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ
โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ (พึงเพิ่มบททั้งปวงจนถึงอาวัชชนจิต)
(1)
สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของปรามาสแต่ไม่เป็นปรามาสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เป็นปรามาสและเป็นอารมณ์ของปรามาสโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน
สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลินกุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ
ออกจากฌาน ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ และขันธ์ที่เป็น
อารมณ์ของปรามาสแต่ไม่เป็นปรามาส เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุ
เป็นต้นนั้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น (2)
สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของปรามาสแต่ไม่เป็นปรามาสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เป็นปรามาสเป็นอารมณ์ของปรามาสและที่เป็นอารมณ์ของปรามาสแต่ไม่เป็นปรามาส
โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ฯลฯ
ยินดีเพลิดเพลินกุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจากฌาน ฯลฯ ยินดี
เพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ และขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของปรามาสแต่ไม่เป็น
ปรามาส เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ปรามาสและ
สัมปยุตตขันธ์จึงเกิดขึ้น (3)
(แม้นอกนี้ก็มี 3 วาระอย่างนี้ พึงเพิ่มคำว่า เพราะปรารภ ทุกะนี้เหมือน
กับปรามาสทุกะ ไม่พึงเพิ่มโลกุตตระเข้าในที่ซึ่งมีไม่ได้)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :481 }