เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 50.ปรามาสทุกะ 7.ปัญหาวาร
อุปนิสสยปัจจัย
[27] สภาวธรรมที่เป็นปรามาสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปรามาสโดย
อุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ ปรามาสเป็นปัจจัยแก่ปรามาสโดยอุปนิสสยปัจจัย มี
3 วาระ
[28] สภาวธรรมที่ไม่เป็นปรามาสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นปรามาส โดย
อุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาแล้วให้ทาน ฯลฯ ทำสมาบัติให้
เกิดขึ้น มีมานะ อาศัยศีล ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ โมหะ
ฯลฯ มานะ ฯลฯ ความปรารถนา ฯลฯ สุขทางกาย ฯลฯ เสนาสนะแล้วให้ทาน
ฯลฯ ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะ
เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ ปัญญา ... ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา ... สุขทาง
กาย ฯลฯ มรรค และผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นปรามาสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปรามาสโดยอุป-
นิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาแล้ว ถือทิฏฐิ อาศัยศีล ฯลฯ
ปัญญา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา ฯลฯ สุขทางกาย ฯลฯ เสนาสนะแล้ว
ถือทิฏฐิ ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่ปรามาสโดยอุปนิสสยปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นปรามาสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปรามาสและที่ไม่เป็น
ปรามาสโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ
และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาแล้ว ถือทิฏฐิ อาศัยศีล ฯลฯ
เสนาสนะแล้ว ถือทิฏฐิ ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่ปรามาสและ
สัมปยุตตขันธ์โดยอุปนิสสยปัจจัย (3)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :451 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 50.ปรามาสทุกะ 7.ปัญหาวาร
[29] สภาวธรรมที่เป็นปรามาสและที่ไม่เป็นปรามาสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เป็นปรามาสโดยอุปนิสสยปัจจัย ได้แก่ ปรามาสและสัมปยุตตขันธ์เป็นปัจจัยแก่
ปรามาสโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 วาระ

ปุเรชาตปัจจัย
[30] สภาวธรรมที่ไม่เป็นปรามาสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นปรามาส
โดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็น
สภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุ
เป็นต้นนั้น ราคะ ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ อุทธัจจะ ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น
บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่
จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายา-
ยตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็น
ปรามาสโดยปุเรชาตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นปรามาสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปรามาสโดยปุเรชาต-
ปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ
เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ปรามาสโดยปุเรชาตปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นปรามาสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปรามาสและที่ไม่เป็น
ปรามาสโดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ เพราะ
ปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ปรามาสและสัมปยุตตขันธ์จึงเกิดขึ้น
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ปรามาสและสัมปยุตตขันธ์โดย
ปุเรชาตปัจจัย (3)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :452 }