เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 48.นีวรณนีวรณสัมปยุตตทุกะ 1.ปฏิจจวาร
สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ฯลฯ พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออก
จากฌาน ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ และขันธ์ที่เป็นอารมณ์
ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น
ราคะ ฯลฯ ทิฏฐิ ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ อุทธัจจะ ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น (2)
สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่
เป็นนิวรณ์เป็นอารมณ์ของนิวรณ์และที่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์โดย
อารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ฯลฯ พิจารณา
กุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจากฌาน ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ
หทัยวัตถุ ขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ เพราะปรารภความยินดี
เพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น นิวรณ์และสัมปยุตตขันธ์จึงเกิดขึ้น (พึงเพิ่ม 3 วาระ
แม้นอกนี้อย่างนี้) (3)
(อธิปติปัจจัยเหมือนกับอารัมมณปัจจัย ปุเรชาตปัจจัยเหมือนกับอารัมมณปัจจัย
ในอุปนิสสยปัจจัย ไม่พึงเพิ่มโลกุตตระ ย่อ พึงขยายให้พิสดารอย่างนี้ พึงพิจารณา
แล้วจึงเพิ่มเหมือนนีวรณทุกะ)
นีวรณนีวรณิยทุกะ จบ

48. นีวรณนีวรณสัมปยุตตทุกะ 1. ปฏิจจวาร
1. ปัจจยานุโลม 1. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[92] สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์อาศัยสภาวธรรมที่เป็น
นิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจ-
นิวรณ์ และอวิชชานิวรณ์อาศัยกามฉันทนิวรณ์เกิดขึ้น (พึงผูกเป็นจักกนัย พึงเพิ่ม
นิวรณ์เข้าทั้งหมด) (1)
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์อาศัยสภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์
และสัมปยุตด้วยนิวรณ์เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ สัมปยุตตขันธ์อาศัยนิวรณ์
เกิดขึ้น (2)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :431 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 48.นีวรณนีวรณสัมปยุตตทุกะ 1.ปฏิจจวาร
สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์สัมปยุตด้วยนิวรณ์และที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็น
นิวรณ์อาศัยสภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่
ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์ อวิชชานิวรณ์ และสัมปยุตตขันธ์อาศัยกามฉันทนิวรณ์
เกิดขึ้น (พึงผูกเป็นจักกนัย) (3)
[93] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์อาศัยสภาวธรรมที่
สัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 อาศัย
ขันธ์ 1 ที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์เกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ 2 ฯลฯ (1)
สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์อาศัยสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
นิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ นิวรณ์อาศัยขันธ์ที่สัมปยุตด้วย
นิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์เกิดขึ้น (2)
สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์สัมปยุตด้วยนิวรณ์และที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็น
นิวรณ์อาศัยสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย
ได้แก่ ขันธ์ 3 และนิวรณ์อาศัยขันธ์ 1 ที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์เกิดขึ้น
ฯลฯ อาศัยขันธ์ 2 ฯลฯ (3)
[94] สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์อาศัยสภาวธรรมที่เป็น
นิวรณ์สัมปยุตด้วยนิวรณ์และที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์เกิดขึ้นเพราะ
เหตุปัจจัย ได้แก่ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์ และอวิชชานิวรณ์อาศัยกาม-
ฉันทนิวรณ์และสัมปยุตตขันธ์เกิดขึ้น (พึงผูกเป็นจักกนัย) (1)
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์อาศัยสภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์
สัมปยุตด้วยนิวรณ์และที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย
ได้แก่ ขันธ์ 3 อาศัยขันธ์ 1 ที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์และอาศัยนิวรณ์
เกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ 2 ฯลฯ (2)
สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์สัมปยุตด้วยนิวรณ์และที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็น
นิวรณ์อาศัยสภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์สัมปยุตด้วยนิวรณ์และที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่
เป็นนิวรณ์เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์ และ
อวิชชานิวรณ์อาศัยขันธ์ 1 ที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์และอาศัยกาม-
ฉันทนิวรณ์เกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ 2 ฯลฯ (พึงผูกเป็นจักกนัย ย่อ) (3)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :432 }