เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 47. นีวรณนีวรณิยทุกะ 7. ปัญหาวาร
4. ปัจจยปัจจนียานุโลม

[88] อารัมมณปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี 4 วาระ
อธิปติปัจจัย ” มี 5 วาระ

(พึงเพิ่มอนุโลมคณนา) ฯลฯ
อวิคตปัจจัย ” มี 7 วาระ
นีวรณสัมปยุตตทุกะ จบ

47. นีวรณนีวรณิยทุกะ 1. ปฏิจจวาร
1. ปัจจยานุโลมเป็นต้น
[89] สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์อาศัยสภาวธรรมที่
เป็นนิวรณ์และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ถีนมิทธนิวรณ์
อุทธัจจนิวรณ์ และอวิชชานิวรณ์อาศัยกามฉันทนิวรณ์เกิดขึ้น (พึงจำแนกคณนา
ทั้งหมดอย่างนี้ เหมือนกับนีวรณทุกะ ไม่มีข้อแตกต่างกัน)

47. นีวรณนีวรณิยทุกะ 7. ปัญหาวาร
1. ปัจจยานุโลม 1. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[90] สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เป็นนิวรณ์และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์โดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่เป็นนิวรณ์และเป็น
อารมณ์ของนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตนิวรณ์โดยเหตุปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น
อารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์โดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่เป็นนิวรณ์และเป็น
อารมณ์ของนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย (2)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :429 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 47. นีวรณนีวรณิยทุกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น
นิวรณ์เป็นอารมณ์ของนิวรณ์และที่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์โดยเหตุปัจจัย
ได้แก่ เหตุที่เป็นนิวรณ์และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ นิวรณ์
และจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย (3)
สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่
เป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์โดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่เป็นอารมณ์ของ
นิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (1)

อารัมมณปัจจัย
[91] สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เป็นนิวรณ์และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภ
นิวรณ์ นิวรณ์จึงเกิดขึ้น (พึงอ้างบทที่เป็นมูล) เพราะปรารภนิวรณ์ ขันธ์ที่เป็น
อารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์จึงเกิดขึ้น (พึงอ้างบทที่เป็นมูล) เพราะปรารภ
นิวรณ์ นิวรณ์และสัมปยุตตขันธ์จึงเกิดขึ้น (3)
สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่
เป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน
สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้วพิจารณากุศลนั้น ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภ
ความยินดีเพลิดเพลินกุศลนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิ ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ อุทธัจจะ
ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลพิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจาก
ฌาน ฯลฯ พระอริยะพิจารณาโคตรภู พิจารณาโวทาน พิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว
พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น ฯลฯ เห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ
ขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดี
เพลิดเพลิน ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฯลฯ (พึงเพิ่ม
ข้อความจนถึงอาวัชชนจิต) (1)
สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เป็นนิวรณ์และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :430 }