เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 46.นีวรณสัมปยุตตทุกะ 7.ปัญหาวาร
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ เพราะ
ปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ราคะ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์โดย
ปุเรชาตปัจจัย (2)

ปัจฉาชาตปัจจัยและอาเสวนปัจจัย
[76] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจาก
นิวรณ์โดยปัจฉาชาตปัจจัย มี 2 วาระ เป็นปัจจัยโดยอาเสวนปัจจัย มี 2 วาระ

กัมมปัจจัยเป็นต้น
[77] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
นิวรณ์โดยกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
โดยกัมมปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป
โดยกัมมปัจจัย
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบาก
และกฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) เจตนาที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์เป็น
ปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย (3)
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจากนิวรณ์โดย
กัมมปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ (ย่อ) เป็นปัจจัยโดย
วิปากปัจจัย มี 1 วาระ

อาหารปัจจัยเป็นต้น
[78] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
นิวรณ์โดยอาหารปัจจัย อินทรียปัจจัย ฌานปัจจัย มัคคปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย มี
2 วาระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :423 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 46.นีวรณสัมปยุตตทุกะ 7.ปัญหาวาร
วิปปยุตตปัจจัย
[79] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจาก
นิวรณ์โดยวิปปยุตตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ (ย่อ) (1)
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจากนิวรณ์
โดยวิปปยุตตปัจจัย มี 3 อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ และปัจฉาชาตะ (ย่อ) (1)
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์โดย
วิปปยุตตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่
สัมปยุตด้วยนิวรณ์โดยวิปปยุตตปัจจัย (2)

อัตถิปัจจัย
[80] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
นิวรณ์โดยอัตถิปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 โดย
อัตถิปัจจัย ฯลฯ (1)
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจากนิวรณ์โดย
อัตถิปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดย
อัตถิปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน
โดยอัตถิปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์
และที่วิปปยุตจากนิวรณ์โดยอัตถิปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์เป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ 3 และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ 2 เป็นปัจจัย
แก่ขันธ์ 2 และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย (3)
[81] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจาก
นิวรณ์โดยอัตถิปัจจัย มี 5 อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ
และอินทรียะ (ย่อ) (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :424 }